Page 104 -
P. 104
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย
ของการไป ปัญหาคือผู้เรียนจ านวนมากจะแปลตรงตัวว่า “ฉันไป
ธนาคารถอนเงิน” ซึ่งไม่ตรงกับวิธีการแสดงออกในภาษาไทย
อาจารย์ผู้สอนต้องแก้ให้เป็น “ฉันไปถอนเงินที่ธนาคาร” ซึ่งประโยค
นี หากไม่มีค าว่า 银行(ธนาคาร) จะสามารถแปลเรียงตัวตรงๆ ไป
ได้ว่า “ฉันไปถอนเงิน” รูปประโยคในภาษาจีนคือ ประธาน+กริยา+
(กรรม) + กริยา + (กรรม) ไม่ว่าจะมีกรรมหรือไม่ ก็ยังเรียง
แบบเดิมได้ ในขณะที่หากมีการบอกสถานที่ในภาษาไทย จะไม่ใช้
เป็นโครงสร้างกริยาเรียง แต่ใช้เป็นบทขยายภาคแสดง “ที่ธนาคาร”
และวางไว้หลังกรรม ผู้เขียนพบว่าปัญหาการแปลเรียงตรงๆ โดยไม่
กลับประโยคให้เหมาะสมกับวิธีแสดงออกในภาษาไทยเช่นนี แก้ไข
ง่ายในหมู่ผู้เรียนระดับต้น แต่ถ้าไม่ย าบ่อยๆ จะเกิดขึ นอย่างต่อเนื่อง
ในผู้เรียนระดับกลางและสูงหรือแม้กระทั่งระดับนักแปลอาชีพ ซึ่ง
สาเหตุมาจากการที่ผู้เรียนซึมซับวิธีการถ่ายทอดความหมายแบบ
ภาษาจีนจนเกิดเป็นความเคยชิน ท าให้เกิดปัญหาลักษณะเดียวกับที่
เคยเป็นในการเรียนภาษาจีนระดับต้น
ประโยคที่ 2 我每个星期天骑自行车去买菜做饭吃。
ประโยคนี มีกริยาเรียงกันอยู่ถึงห้าตัวคือ 骑(ขี่)去(ไป)买
(ซื อ)做(ท า)吃(กิน)แปลได้ว่า “ทุกวันอาทิตย์ฉันขี่จักรยานไปซื อ
กับข้าวมาท าอาหารกิน” จะสังเกตได้ว่าในประโยคภาษาไทย
จ าเป็นต้องเติมกริยาเพิ่มอีกตัวหนึ่งคือ “มา” หากขาดการเชื่อม
ประโยคจะติดขัดทันที เช่น “ทุกวันอาทิตย์ฉันขี่จักรยานไปซื อกับข้าว
ท าอาหารกิน” ค าว่า “มา” ที่เติมไว้ เชื่อมระหว่างวิธีการและการ
บทที่ 5 การแปลประโยคที่มีลักษณะพิเศษ 97