Page 102 -
P. 102
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย
ประเภทตามความสัมพันธ์ของกริยา (หรือคุณศัพท์) คือ 1. แสดง
ล าดับก่อนหลังหรือเกิดขึ นต่อเนื่อง ประโยคประเภทนี มักมีส่วนเสริม
บอกผลหรือค าว่า 了(แล้ว)过(เคย) ซึ่งแสดงว่าการกระท าบรรลุผล
หรือแสดงประสบการณ์ 孩子们听完故事哈哈大笑起来。
(เด็กๆ ฟังนิทานจบก็หัวเราะดังลั่น) 2. กริยาหรือวลีด้านหลังเป็น
เป้าหมายของกริยาตัวหน้า เช่น 我们去商店买东西。(พวกเราไป
ร้านค้า (เพื่อ) ซื อของ - พวกเราไปซื อของที่ร้านค้า) 3. กริยาหรือ
วลีด้านหน้าแสดงวิธีการหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการกระท ากริยาด้านหลัง
เช่น 妈妈骑自行车走了。(แม่ขี่จักรยานไปแล้ว) 4. กริยาหรือ
วลีด้านหน้าแสดงความหมายยอมรับ กริยาหรือวลีด้านหลังแสดง
ความหมายปฏิเสธ แต่ความหมายของทั งสองเหมือนกัน เป็นการ
กล่าวจากมุมตรงมุมกลับสองด้าน เช่น 我看他总是坐在那里不
动,原来他在练气功。(ฉันเห็นเขามักจะนั่งอยู่ที่นั่นไม่ขยับ ที่
แท้เขาก าลังฝึกชี่กงอยู่) 5. กริยาด้านหน้าเป็น 有(มี) หรือ 没有(
ไม่มี) กรรมของมีหรือไม่มีเป็นผู้รับการกระท าของกริยาหลัง เช่น 我
有一个问题请教您。(ฉันมีปัญหาจะขอค าชี แนะจากคุณ) มีอีก
ประเภทหนึ่งคือ กรรมของมีหรือไม่มีเป็นนามธรรม กริยาวลีที่
ตามหลังมาสามารถเปลี่ยนมาเป็นบทขยายนามของกรรมนี ได้ เช่น
你有什么理由不让我走?(คุณมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ให้ฉันไป)
ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้เป็น 没有不让我走的理由 (刘月华、潘
文娱、故韡,2019:694-697)
บทที่ 5 การแปลประโยคที่มีลักษณะพิเศษ 95