Page 32 -
P. 32
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. สารไม่ดูดซึม (non-systemic) สารกลุ่มนี้ไม่มีการเคลื่อนย้ายหรือดูดซึมไปยัง
ส่วนต่าง ๆ ของพืช เป็นการก�าจัดเชื้อราแบบสัมผัสกับสารเคมี
6.1.2 สารก�าจัดเชื้อแบคทีเรีย (bactericide) ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มของคอปเปอร์ และสารปฏิชีวนะ
(antibiotic) ซึ่งเป็นสารที่ได้มาจากจุลินทรีย์ เช่น Streptomyces และ Penicillium ตัวอย่างสารปฏิชีวนะ
เช่น Blasticidin ผลิตจาก Streptomyces griseochromagenes และ cycloheximide ผลิตจาก S. griseus
มีคุณสมบัติในการยับยั้งโปรตีนในเชื้อราท�าให้เชื้อราตาย เป็นต้น
6.1.3 สารก�าจัดไส้เดือนฝอย (nematicide) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1. สารรมก�าจัดไส้เดือนฝอย (fumigant) เป็นสารระเหย (volatile) เช่น 1,3-
dichloropropene ในอัตราส่วนปกติใช้ป้องกันก�าจัดไส้เดือนฝอยศัตรูพืชและอัตราการใช้ที่สูงขึ้นสามารถก�าจัด
ศัตรูพืชในดินชนิดอื่นได้
2. สารเคมีชนิดไม่รม (non-fumigant) เป็นสารไม่ระเหย (non-volatile) ได้แก่
fenamiphos และ oxamyl เป็นต้น สารชนิดไม่รมนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ organophosphates และ carbamates
กลไกการออกฤทธิ์คือ การยับยั้งเอนไซม์ acetylcholinesterase ซึ่งเกี่ยวข้องกับการท�างานของระบบประสาท
ของไส้เดือนฝอย
ส่วนสารเคมีควบคุมไวรัสสาเหตุโรคพืชยังไม่มีสารที่ฆ่าอนุภาคไวรัสได้โดยตรง การควบคุมโรคพืชที่เกิด
จากเชื้อไวรัสจึงใช้สารเคมีในการควบคุมแมลงพาหะน�าโรคไวรัส ช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคและลดการเกิด
โรคได้ในที่สุด
6.2 การรักษาโดยการใช้ความร้อน (Heat therapy)
การใช้น�้าร้อน (hot-water treatment) วิธีการนี้นิยมใช้ก�าจัดโรคพืชที่อยู่ในเมล็ด (seed-borne
pathogen) โดยเฉพาะแบคทีเรียและไวรัส เช่น การก�าจัดโรคเน่าด�าของพืชตระกูลกะหล�่า จากเชื้อแบคทีเรีย
Xanthomonas campestris pv. campestris ให้น�าเมล็ดพันธุ์ไปแช่น�้าร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส
เป็นเวลา 20 หรือ 30 นาที หรือการก�าจัดไส้เดือนฝอยที่ติดมากับท่อนพันธุ์ หน่อ แง่ง หัวของพืช โดยการแช่
ในน�้าร้อน เช่น การก�าจัดไส้เดือนฝอยในหัวมันเทศ ให้น�าไปแช่น�้าร้อนที่อุณหภูมิ 45.7 องศาเซลเซียส เป็นเวลา
65 นาที หรือการก�าจัดไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.) ในแง่งขิง โดยการแช่ในน�้าร้อน อุณหภูมิ 55
องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที ก่อนปลูก
6.3 การตัดแต่งกิ่ง ล�าต้น หรือส่วนพืชที่เป็นโรคออก และทาสารเคมีป้องกันก�าจัดโรคบริเวณแผลที่
ถูกตัดเพื่อป้องกันการเข้าท�าลายซ�้าเติมของเชื้อโรคชนิดอื่น ๆ วิธีการนี้เป็นการรักษาโรคโดยการลดปริมาณเชื้อโรค
และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้
กลยุทธ์การจัดการโรคพืช (Plant Disease Management Strategies) (Arneson, 2001)
Phil A. Arneson แห่งมหาวิทยาลัย Cornell ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สรุปผลงานวิจัยของนักโรคพืช
และเกษตรกรในช่วงเวลาที่ผ่านมาเกี่ยวกับการควบคุมโรคพืชโดย การลดปริมาณเชื้อโรคเริ่มแรก การลดอัตรา
การติดเชื้อ และการลดช่วงเวลาของการระบาด เพื่อให้การข้ามผ่านแนวความคิดจากการควบคุมโรคพืชไปสู่
การจัดการโรคพืช โดยให้หลักการควบคุมโรคพืชแบบดั้งเดิมสามารถปรับเปลี่ยนเป็นยุทธวิธีในแต่ละกลยุทธ์ของ
การจัดการโรคพืชที่ส�าคัญ ๆ 3 ข้อ ดังนี้
25
บทที่ 2 หลักการควบคุมโรคพืช
และกลยุทธ ์ การจัดการโรคพืช
ผู ้ ช ่ วยศาสตราจารย ์ ดร.อนงค ์ นุช สาสนรักกิจ