Page 30 -
P. 30

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                        3.2 การปลูกพืชหมุนเวียน (crop rotation) เป็นการตัดวงจรชีวิตของเชื้อสาเหตุโรค ไม่ให้เชื้อ
                สาเหตุโรคได้มีอาหารในการด�ารงชีวิต ส่งผลให้เชื้อไม่สามารถขยายพันธุ์ต่อเนื่องได้ดี การเลือกพืชมาปลูกเป็น
                พืชหมุนเวียนเป็นสิ่งจ�าเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรต้องมีข้อมูลว่าพืชชนิดใดที่สามารถน�ามาปลูกเป็นพืชหมุนเวียน

                แล้วช่วยลดการเกิดโรคลงได้ หากเลือกพืชที่เป็นพืชอาหารของเชื้อสาเหตุโรคนั้น ๆ มาปลูกเป็นพืชหมุนเวียน
                ไม่เพียงแต่ท�าให้โรคไม่ลดลงแล้วยังเป็นการเพิ่มประชากรของเชื้อโรคด้วย โดยทั่วไปเกษตรกรนิยมปลูกพืช

                ตระกูลถั่วหลังนาเพื่อช่วยบ�ารุงดิน การปลูกพืชหมุนเวียนให้ได้ผลดีต้องมีช่วงระยะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
                เช่น หากต้องการก�าจัดไส้เดือนฝอย Ditylenchus dipsaci ในหอมควรปลูกแครอท ผักกาดหอม หรือผักขม
                เป็นพืชหมุนเวียนเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี

                        3.3 การควบคุมโรคพืชด้วยวิธีเขตกรรม (cultural practice หรือ cultural control) คือการปฏิบัติ
                ต่อพืชด้วยวิธีการใดก็ตามที่มีผลท�าให้ต้นพืชมีการเจริญเติบโตได้ดี แข็งแรง ให้ผลผลิตสูง ซึ่งอาจเป็นการปฏิบัติ

                ต่อดิน ต้นพืชโดยตรง หรือปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นพืช การควบคุมโรคพืช
                ด้วยวิธีเขตกรรมท�าได้หลายวิธี เช่น การท�าความสะอาดแปลงปลูกพืช การก�าจัดพืชอาศัยรอง (alternate host)
                การก�าจัดวัชพืช ก�าจัดเศษซากพืชและท�าลาย วิธีการนี้เป็นการลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคพืชในแปลงปลูกได้เป็น

                อย่างดี
                        3.4 การควบคุมโรคพืชโดยการใช้สารเคมี (chemical control) เป็นวิธีการที่ได้ผลอย่างรวดเร็ว และ

                มีประสิทธิภาพสูง แต่ควรใช้เมื่อจ�าเป็นและเป็นทางเลือกสุดท้ายเท่านั้น การใช้สารเคมีมากเกินไปในทุกประเทศ
                ทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม มลภาวะเป็นพิษเกิดสภาวะเรือนกระจก การเกิดพิษตกค้าง
                ในผลผลิต ในแปลงปลูก แหล่งน�้า สัตว์น�้า เกษตรกร และผู้บริโภค ล้วนได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมีทั้งสิ้น

                แต่อย่างไรก็ตาม การงดไม่ใช้สารเคมีเลยในระบบการเกษตรนั้นเป็นสิ่งที่ยาก ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีการพยายาม
                ลดการใช้สารเคมีด้วยการหาวิธีการอื่น ๆ เข้ามาร่วมด้วยและน�าไปสู่ระบบการจัดการโรคพืชนั่นเอง สารเคมีที่

                ใช้ในการควบคุมโรคพืช เช่น สารป้องกันก�าจัดเชื้อรา สารป้องกันก�าจัดแบคทีเรีย สารป้องกันก�าจัดไส้เดือนฝอย
                และสารป้องกันก�าจัดแมลงพาหะ
                        3.5 การใช้ความร้อนในการก�าจัดเชื้อสาเหตุโรคพืช เช่น การแช่ท่อนพันธุ์ หัวพันธุ์พืชในน�้าร้อนใน

                ช่วงอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมของพืชแต่ละชนิด นอกจากนี้การใช้ความร้อนจากแสงแดดก�าจัดเชื้อโรคในดิน
                (soil solarization) วิธีการนี้เป็นการลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคพืชที่อยู่ในดิน (soil-borne pathogen) เช่น

                ไส้เดือนฝอย เชื้อรา แบคทีเรีย และวัชพืชได้ การน�าพลาสติกมาคลุมที่ผิวดินช่วยเพิ่มอุณหภูมิและประสิทธิภาพ
                ในการก�าจัดเชื้อโรคมากขึ้น แต่มีค่าใช้จ่ายที่สูงมากเช่นกัน วิธีการนี้นิยมใช้ในประเทศอิสราเอลและอีกหลาย
                ประเทศ Pokharel (2011) รายงานว่า การไถดินตากแดดที่อุณหภูมิ 99 องศาฟาเรนไฮด์ (37 องศาเซลเซียส)

                เป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ สามารถยับยั้งการงอกของวัชพืชได้หลายชนิดรวมทั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
                      การก�าจัดเชื้อโรคพืชในดินด้วยวิธีนี้อุณหภูมิสูงขึ้นถึง 95-140 องศาฟาเรนไฮด์ (35-60 องศาเซลเซียส)

                ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน ความลึก สถานที่ และฤดูกาล เป็นต้น มีผลกับเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด เช่น
                Verticillium dahliae ก่อให้เกิดโรคเหี่ยวในพืชหลายชนิด เช่น ฝ้าย มะเขือเทศ มันฝรั่ง นอกจากนี้ยังมีผลกับ
                เชื้อ Fusarium spp., Phytophthora cinnamomi และสามารถลดประชากรของไส้เดือนฝอยได้หลายชนิด

                เช่น ไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.) และ ไส้เดือนฝอยรากแผล (Pratylenchus sp.) เป็นต้น






                                                                                                               23
                                                                                  บทที่ 2  หลักการควบคุมโรคพืช
                                                                                       และกลยุทธ ์ การจัดการโรคพืช
                                                                                           ผู ้ ช ่ วยศาสตราจารย ์  ดร.อนงค ์ นุช สาสนรักกิจ
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35