Page 34 -
P. 34

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                         3.2 การกีดกันโรค (exclusion) คือการใช้วิธีทางกฎหมายผ่านด่านกักกันพืช ช่วยลดการน�าเชื้อจาก
                แหล่งภายนอกเข้าสู่แปลงปลูก



                หลักการและวิธีการจัดการโรคพืช

                การจัดการโรคพืช (plant disease management)
                      องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ให้ค�าจ�ากัดความของค�าว่า การจัดการศัตรูพืช
                คือระบบการเลือกและใช้วิธีการที่เหมาะสมใดๆ ก็ตามที่สามารถลดความเสียหายของพืชลงได้จนถึงระดับ

                ที่พืชสามารถทนอยู่ได้ ในทางปฏิบัติอาจใช้วิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกันโดยค�านึงถึงประสิทธิภาพที่สูงสุด
                การมีผลต่อสภาพแวดล้อมน้อยและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ดังนั้นค�าจ�ากัดความของ การจัดการโรคพืช

                ควรเป็นระบบหรือกระบวนการเลือกและใช้วิธีการที่เหมาะสมใด ๆ ก็ตามที่สามารถลดความเสียหายที่เกิด
                จากเชื้อโรคลงได้จนถึงระดับที่พืชทนอยู่ได้ ในทางปฏิบัติอาจใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกันได้
                โดยค�านึงถึงประสิทธิภาพที่สูงสุด การมีผลต่อสภาพแวดล้อมน้อยและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด (สืบศักดิ์ 2554)

                      ความหมายของการจัดการโรคพืช (plant disease management) มีความแตกต่างจาก การควบคุมโรคพืช
                (plant disease control) กล่าวคือ การควบคุมโรคพืช บ่งบอกถึงการกระท�าการป้องกันก�าจัดโรคพืชด้วยวิธีใด

                วิธีหนึ่งแล้วหยุดทันทีเพื่อดูผลว่าได้ผลหรือไม่ จัดเป็นกระบวนการที่สั้นกว่าการจัดการโรค ซึ่งจัดเป็นระบบ
                มีการวางแผนทั้งก่อนและหลังการปลูกพืช ตลอดจนประเมินความคุ้มค่าของการผลิตพืชด้วย ดังนั้นการควบคุม
                โรคพืชถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการโรคพืชนั่นเอง (สืบศักดิ์ 2543)



                ท�าไมต้องมีการจัดการโรคพืช

                      1. การใช้สารเคมีมากเกินไปในอดีต ท�าให้โรคพืชมีการปรับตัว ดื้อต่อสารเคมี หรือการที่สารเคมี
                มีพิษตกค้าง ท�าลายสภาพแวดล้อม เช่น methyl bromide ท�าลายชั้นโอโซนในบรรยากาศท�าให้เกิดสภาวะ
                เรือนกระจก โลกร้อน เป็นต้น ปัจจุบันมีการระงับใช้ methyl bromide แล้ว นอกจากนี้พิษภัยจากสารเคมี

                ที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรผู้ผลิต รวมทั้งผู้บริโภคจากการใช้สารเคมีมากเกินไปท�าให้ต้องมีการจัดการศัตรูพืชเข้ามา
                ช่วยในการลดการใช้สารเคมี

                      2. การเพิ่มขึ้นของประชากรของโลก เป็นสาเหตุหลักที่ท�าให้ต้องมีการผลิตอาหารเพิ่มตามไปด้วย
                Worldometer (2017) รายงานจ�านวนประชากรทั่วโลกในปี ค.ศ. 2017 มีประชากรประมาณ 7,500 กว่า
                ล้านคน Godfray และคณะ 2010 คาดว่าจ�านวนประชากรทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 9,000 ล้านคนในปี ค.ศ. 2050

                ดังนั้นการผลิตอาหารจึงมีความจ�าเป็นอย่างมากทั้งในด้านของความหลากหลายและคุณภาพของอาหาร จาก
                ความจ�าเป็นดังกล่าวท�าให้การผลิตอาหารทั่วโลก ต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมมาท�าเป็น

                พื้นที่การเกษตรมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลในระบบนิเวศ เกิดการระบาดหนักของศัตรูพืชต่าง ๆ ในอดีต
                เช่น โรคราน�้าค้างข้าวโพด ตั๊กแตนปาทังกา เป็นต้น ท�าให้เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายในการควบคุมศัตรูพืชมากขึ้น
                      3. วิธีการท�าการเกษตรสมัยใหม่ และวิทยาการทางการผสมพันธุ์พืช เป็นผลจากการที่มนุษย์ต้องการ

                ผลิตอาหารเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับประชากรโลก จึงเกิดเทคโนโลยีการผลิตพืชที่มีการดัดแปรทาง
                พันธุกรรมและเพิ่มพื้นที่ปลูกอย่างมากมาย แต่การผลิตพืชพันธุ์ต้านทานโรค หรือพืชที่ดัดแปรพันธุกรรมนั้น

                อาจมีจีน (gene) ที่อ่อนแอต่อโรคหรือศัตรูพืชชนิดอื่น อาจท�าให้เกิดการระบาดของโรคชนิดใหม่ที่ไม่คาดคิดได้




                                                                                                               27
                                                                                  บทที่ 2  หลักการควบคุมโรคพืช
                                                                                       และกลยุทธ ์ การจัดการโรคพืช
                                                                                           ผู ้ ช ่ วยศาสตราจารย ์  ดร.อนงค ์ นุช สาสนรักกิจ
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39