Page 29 -
P. 29

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                    2. การกีดกันโรค (Exclusion) เป็นการกีดกันการน�าเชื้อโรคมาสู่แปลงปลูก เช่น
                      2.1 การใช้วิธีการทางกฎหมาย ก�าหนดชนิดพืชหรือชนิดของเชื้อสาเหตุโรคที่ห้ามน�าเข้าประเทศ
              โดยผ่านการกักกันพืช (plant quarantine) และกระบวนการส่งสินค้า เพื่อยับยั้งการน�าเข้าและการแพร่ระบาด

              ของเชื้อสาเหตุโรคที่ติดมากับส่วนของพืชหรือวัสดุปลูก
                      2.2 การก�าจัดเชื้อสาเหตุโรคที่ติดมากับส่วนขยายพันธุ์พืช เช่น เมล็ด หัว ท่อนพันธุ์ สามารถท�าได้

              หลายวิธี เช่น การคลุกเมล็ดด้วยสารเคมี การแช่ท่อนพันธุ์ในน�้าร้อน เพื่อเป็นการก�าจัดเชื้อโรคพืชที่ติดมาก่อน
              ปลูกลงในแปลง เป็นการลดการเกิดโรคได้
                      2.3 การก�าจัดแมลงพาหะ โรคพืชหลายชนิดมีแมลงเป็นพาหะในการน�าโรค ดังนั้นการป้องกันหรือ

              กีดกันการน�าเชื้อสาเหตุเข้ามาสู่แปลงปลูกควรก�าจัดแมลงพาหะ เช่น การใช้สารเคมีก�าจัดแมลง เพื่อช่วยลดการ
              แพร่ระบาดของโรคมายังแปลงปลูกใหม่



                    3. การก�าจัดโรค (Eradication) คือ การท�าลายเชื้อสาเหตุโรค ท�าให้เชื้อโรคไม่สามารถก่อโรคได้
              การก�าจัดโรคมีหลายวิธี เช่น

                      3.1 การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี (biological control) คือการน�าสิ่งมีชีวิตหรือเชื้อจุลินทรีย์
              มาควบคุมประชากรของเชื้อสาเหตุโรคพืช หรือเป็นการใช้ศัตรูธรรมชาติควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช ในปัจจุบัน

              วิธีการนี้ได้ใช้กันแพร่หลายเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการลดการใช้สารเคมีในระบบการผลิตพืช การใช้สารเคมี
              อาจเป็นตัวการส�าคัญในการท�าลายศัตรูธรรมชาติของเชื้อโรคพืช เนื่องจากการควบคุมกันโดยธรรมชาติ
              มักเกิดบนพื้นที่ที่มีทั้งเชื้อโรคพืชและเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น ใบพืช ดังนั้นการใช้สารเคมีอาจเป็นการเสี่ยงที่

              สารเคมีเข้าไปท�าลายเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ ท�าให้เชื้อที่มีประโยชน์ตายไปด้วย เกิดการไม่สมดุลขึ้นในธรรมชาติ
              ปฏิกิริยาระหว่างเชื้อโรคและเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ มีดังนี้

                           3.1.1 การเป็นปรสิต (parasitism) คือ การที่เชื้อปฏิปักษ์เข้าท�าลายเชื้อสาเหตุโรคพืชโดยตรง
              เช่น ดูดกินสารอาหารจากเชื้อราสาเหตุโรคพืช เช่น การที่เส้นใยของเชื้อรา Trichoderma harzianum ท�าลาย
              เชื้อรา Rhizoctonia solani ใช้ควบคุมโรครากเน่าของฝ้าย เป็นต้น

                           3.1.2 การเป็นผู้ล่าหรือตัวห�้า (predator) ของเชื้อสาเหตุโรคพืช เป็นการกินทั้งตัวโดยสัตว์ไม่มี
              กระดูกสันหลัง เช่น ไส้เดือนฝอยกินแบคทีเรีย ไส้เดือนฝอยตัวห�้า เช่น Mononchus sp., Mononchoides sp.

              ใช้ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.) นอกจากนี้ยังมีสิ่งมีชีวิตจ�าพวกอมีบาที่กินเส้นใย
              และสปอร์ของเชื้อรา รวมถึงยีสต์ด้วย
                           3.1.3 การแข่งขัน (competition) การแข่งขันกันเองระหว่างสิ่งมีชีวิตที่ต้องการพื้นที่และ

              แหล่งอาหารเดียวกันในการเจริญเติบโตมักเกิดกับสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น แบคทีเรียและยีสต์สามารถ
              ลดการงอกของสปอร์ของเชื้อราได้โดยการแข่งขันกันครอบครองพื้นที่เพื่อแย่งอาหารบนใบพืชเดียวกัน เป็นต้น

                           3.1.4 การชักน�าให้เกิดความต้านทาน (induced resistance) ในรูปของ cross-protection
              ที่ซึ่งพืชถูกเชื้อที่เป็นสายพันธุ์อ่อนแอเข้าท�าลาย อัตราความเข้มข้นของเชื้อต�่า หรือได้รับการกระตุ้นจากสารเคมี
              ให้พืชเกิดการสร้างภูมิคุ้มกัน ท�าให้เกิดความต้านทานต่อเชื้อโรคได้

                           3.1.5 การสร้างสารปฏิชีวนะ (antibiotic) สารปฏิชีวนะเป็นสารเคมีที่ผลิตจากจุลินทรีย์
              ซึ่งมีผลในการท�าลายสิ่งมีชีวิตหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา





        22           หลักการควบคุมโรคพืช
                Principles of Plant Disease Control
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34