Page 31 -
P. 31

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                    4. การป้องกันการเกิดโรค (Protection) คือ การป้องกันการติดเชื้อโรคโดยการใช้สารเคมีที่เป็นพิษ
              หรือการสร้างสิ่งกีดขวางการเข้าท�าลายของเชื้อโรค เช่น
                    การใช้สารเคมีคลุกเมล็ดเพื่อป้องกันการเข้าท�าลายของเชื้อสาเหตุโรค หรือการใช้สารเคมีในการก�าจัด

              แมลงพาหะเพื่อป้องกันการระบาดเข้ามาในแปลงของเชื้อสาเหตุโรค เป็นต้น
                    นอกจากนี้การป้องกันโรคโดยการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช เช่น

              การปลูกพืชให้มีระยะห่างที่เหมาะสมและการตัดแต่งกิ่ง การปลูกพืชที่มีระยะใกล้กันมากเกินไป เมื่อพืชมี
              การเจริญเติบโตทรงพุ่มใหญ่ขึ้น บดบังแสงแดดที่ส่องลงสู่พื้นดิน ท�าให้ความชื้นสูงขึ้น อากาศไม่ปลอดโปร่ง
              อุณหภูมิสูงขึ้น เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อสาเหตุโรค ดังนั้นควรปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับ

              การเจริญเติบโตของพืช ยับยั้งการเจริญของเชื้อโดยการตัดแต่งกิ่งให้ปลอดโปร่ง มีการถ่ายเทอากาศได้ดี
              ท�าให้ความชื้นลดลงช่วยลดการเกิดโรคได้

                    การบ�ารุงต้นพืชให้มีความแข็งแรง เช่น การใส่ปุ๋ย เป็นลดการเกิดโรคได้ การใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยพืชสด
              นอกจากเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินแล้ว ยังเป็นการเพิ่มประชากรของเชื้อจุลินทรีย์ที่มีปฏิกิริยา
              ต่อเชื้อสาเหตุโรคในธรรมชาติ เช่น การแข็งขัน การเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อสาเหตุโรค ท�าให้เป็นการควบคุมกันเอง

              ในสภาพธรรมชาติส่งผลให้โรคพืชไม่เกิดการระบาด



                    5. การต้านทานโรค (Resistance) คือ การเลือกใช้พันธุ์พืชที่ต้านทานหรือทนทานต่อการเข้าท�าลาย
              ของเชื้อสาเหตุโรคพืช การที่พืชเกิดความต้านทานโรคอาจเกิดมาจากวิธีการต่าง ๆ เช่น
                      5.1 การคัดเลือกพันธุ์ โดยสังเกตในสภาพธรรมชาติที่ต้นพืชบางต้นสามารถด�ารงชีวิตและให้ผลผลิตได้

              แม้ว่ามีการเข้าท�าลายของเชื้อโรคอย่างมาก และท�าการผสมพันธุ์พืชให้มีความต้านทานต่อโรค ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้
              เวลานาน มักต้านทานต่อโรคเพียงโรคเดียวและอาจอ่อนแอต่อศัตรูพืชชนิดอื่น

                      5.2 การติดตา ต่อกิ่ง เป็นการน�าตาหรือกิ่งพันธุ์ดีมาทาบกับต้นตอที่มีความต้านทานโรค เป็นวิธีการที่
              ใช้กับต้นไม้ใหญ่
                      5.3 การชักน�าให้เกิดการกลายพันธุ์ อาจใช้สารเคมีหรือรังสีเอ็กซ์ รังสีแกรมมา เป็นต้น

                      5.4 การใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) เป็นการถ่าย gene ที่มีความต้านทาน
              โรคเข้าไปในพืชที่ต้องการ เรียกว่า transgenic plant หรือพืชดัดแปรพันธุกรรม (GMO, genetically modified

              organism) ซึ่งในปัจจุบันมีการวิจัยกันมากในส่วนนี้


                    6. การรักษา (Therapy) คือการรักษาโรคพืชในขณะที่เชื้อเข้าท�าลายพืชแล้ว

                      6.1 การรักษาโดยการใช้สารเคมี (Chemotherapy)
                      โดยทั่วไปสารเคมีป้องกันก�าจัดโรคพืชแบ่งตามกลุ่มของเชื้อสาเหตุโรคดังนี้

                           6.1.1 สารก�าจัดเชื้อรา (fungicide) เป็นสารเคมีกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในการควบคุมโรคพืช หากแบ่ง
              ตามการเคลื่อนที่ในพืชสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
                                1. สารดูดซึม (systemic) สารกลุ่มนี้ถูกดูดซับเข้าไปและมีการเคลื่อนย้ายในต้นพืช

              การเคลื่อนย้ายจากบนลงล่างหรือจากส่วนยอดหรือใบลงไปยังระบบราก เรียกว่า symplast ส่วนการเคลื่อนย้าย
              จากรากขึ้นไปส่วนใบและยอด เรียกว่า apoplast เป็นการเคลื่อนย้ายของสารที่พ่นหรือราดดิน





        24           หลักการควบคุมโรคพืช
                Principles of Plant Disease Control
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36