Page 36 -
P. 36
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5. ต้องได้รับความร่วมมือจากเพื่อนเกษตรกรใกล้เคียง ข้อนี้ถือเป็นหลักการส�าคัญเนื่องจากหากไม่ได้รับ
ความร่วมมือจากแปลงข้างเคียงแล้วอาจมีผลท�าให้การจัดการโรคไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
วิธีการจัดการโรคพืช วิธีการจัดการโรคพืชมี 7 ข้อดังนี้
1. วางแผนให้การจัดการโรคพืชรวมอยู่ในระบบการปลูกพืชทั้งหมด
2. รวบรวมข้อมูลการปลูกพืชต่างๆ
3. เริ่มด�าเนินงานทุกขั้นตอนตามแผนการจัดการที่วางไว้
4. ส�ารวจโรคอย่างสม�่าเสมอ
5. เมื่อพบอาการผิดปกติ ต้องตรวจดูตามวิธีการทางโรคพืช
6. ตัดสินใจด�าเนินการ
7. การประเมินผลทั้งระบบ
รายละเอียดของวิธีการต่าง ๆ ทั้ง 7 ขั้นตอนในการจัดการโรคพืชมีดังนี้
1. วางแผนให้การจัดการโรคพืชรวมอยู่ในระบบการปลูกพืชทั้งหมด ตั้งแต่ก่อนปลูกพืช
2. รวบรวมข้อมูลการปลูกพืชต่าง ๆ ซึ่งมีความส�าคัญอย่างมากในระบบการจัดการโรคพืช ประกอบด้วย
2.1 ข้อมูลเกี่ยวกับพืช เช่น พันธุ์พืช การปลูก การดูแลรักษา วิธีขยายพันธุ์ แหล่งซื้อเมล็ดพันธุ์
การดูแลผลผลิตก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว เป็นต้น
2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับโรคและเชื้อสาเหตุของโรค เช่น ชนิดของเชื้อสาเหตุโรค ลักษณะอาการของโรคที่
เกิดจากเชื้อสาเหตุต่าง ๆ หรือเกิดจากสภาพแวดล้อม การขาดธาตุอาหาร ช่วงเวลาการเกิดโรคในพืชแต่ละชนิด
(ภาพที่ 2.3) โรคพืชก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว การวินิจฉัย ความเสียหาย และการประเมินการเกิดโรค
2.3 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม เช่น ความชื้น อุณหภูมิ ความเข้มแสง โครงสร้างดิน ความเป็น
กรด-ด่างของดิน การทราบข้อมูลเหล่านี้เพื่อประเมินในเบื้องต้นว่าสภาพแวดล้อมแบบใดที่พบการระบาดของ
โรคเป้าหมายที่ต้องการจัดการ เพื่อการเฝ้าระวังและเตรียมการป้องกันไว้ล่วงหน้า
ภาพที่ 2.3 โรคของถั่วเขียวตามอายุการเจริญเติบโต
ที่มา: สืบศักดิ์ (2553)
29
บทที่ 2 หลักการควบคุมโรคพืช
และกลยุทธ ์ การจัดการโรคพืช
ผู ้ ช ่ วยศาสตราจารย ์ ดร.อนงค ์ นุช สาสนรักกิจ