Page 40 -
P. 40
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่
3 การควบคุมโรคพืชโดยวิธีกายภาพ
ผูชวยศาสตราจารย ดร.วีระณีย ทองศรี
์
์
้ ่
การควบคุมโรคพืชโดยวิธีกายภาพ เป็นการน�าเอาองค์ความรู้ทางฟิสิกส์มาประยุกต์ใช้ในการป้องกัน
ก�าจัดโรคพืช มีวัตถุประสงค์เพื่อลดหรือก�าจัดปริมาณเชื้อเริ่มต้น (primary inoculum) โดยเบื้องต้นได้มีการ
น�าหลักการการรักษาโรคพืชด้วยความร้อนมาใช้ในเมล็ด ซึ่งระดับความร้อนที่ใช้ต้องไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อพืช
แต่จะเป็นอันตรายต่อเชื้อจุลินทรีย์ที่ติดมากับเมล็ดเท่านั้น โดยความร้อนจะสามารถช่วยลดการเจริญเติบโต
และท�าลายเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคได้ ซึ่งมีแนวคิดสนับสนุนศักยภาพของความร้อนดังกล่าวสองประการ คือ
ประการแรก ในส่วนของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส ความร้อนจะไปกระตุ้นเอนไซม์เพื่อให้เกิดการย่อยอนุภาค
ของไวรัส แต่แนวคิดนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับเท่าใดนัก ส่วนแนวคิดประการที่สอง คือ ความร้อนจะไปท�าลาย
พันธะของกรดนิวคลีอิคโดยจะเข้าท�าลายที่เส้นสายของนิวคลีโอไทด์ จึงท�าให้เนื้อเยื่อพืชติดเชื้อไวรัสน้อยลง
นอกจากนี้ ความร้อนยังไปท�าลายองค์ประกอบของโปรตีนของเชื้อจุลินทรีย์ ท�าให้พันธะของกรดอะมิโนถูกแยก
ออกจากกัน ส่งผลให้โมเลกุลของโปรตีนสูญเสียสภาพ โดยโมเลกุลบางส่วนจะละลายน�้าและตกตะกอนในเวลา
ต่อมา การใช้ความร้อนในการควบคุมโรคพืชนี้ จะเกิดผลดีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับอุณหภูมิและความเร็ว
ของความร้อนในการเข้าท�าลายเชื้อจุลินทรีย์ในชิ้นส่วนพืช
การควบคุมโรคพืชทางกายภาพ สามารถปฏิบัติได้หลายวิธี ได้แก่
1. การใช้น�้าร้อน (hot water treatment)
น�้าร้อนถูกน�ามาใช้ครั้งแรกเพื่อก�าจัดราเขม่าด�าของธัญพืชหลายชนิด และต่อมาได้มีการน�ามาควบคุม
เชื้อสาเหตุโรคที่ติดมากับเมล็ดและท่อนพันธุ์อื่น ๆ ก่อนจะได้รับความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะโรคที่
มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัส มีเมล็ดและท่อนพันธุ์ของพืชหลายชนิดที่นิยมน�ามาจุ่มน�้าร้อนก่อนปลูก
เพื่อลดจ�านวนประชากรของเชื้อก่อโรคเริ่มต้น ดังแสดงไว้ในตารางที่ 3.1-3.3
33
บทที่ 3 การควบคุมโรคพืชโดยวิธีกายภาพ
ผู ้ ช ่ วยศาสตราจารย ์ ดร.วีระณีย ์ ทองศรี