Page 42 -
P. 42
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตารางที่ 3.3 ระยะเวลาและระดับอุณหภูมิที่ใช้ในการจุ่มท่อนพันธุ์หรือส่วนของพืชเพื่อลดจ�านวนประชากร
ของไส้เดือนฝอยศัตรูพืช
ไส้เดือนฝอย ส่วนของพืช เวลา (นาที) อุณหภูมิ (°C)
Aphelenchoides ritzemabosi กิ่งพันธุ์เบญจมาศ 15 47.8
30 43
A. fragariae หน่อเอสเทอร์ลิลลี่ 60 44
Ditylenchus dipsaci หน่อ narcissus 240 43
D. destructor หน่อ irish 180 43
Meloidogyne spp. ต้นตอเชอรี่ 5-10 50-51
มันเทศ 65 45.7
ต้นตอท้อ 5-10 50-51.1
หัว tuberose 60 49
รากองุ่น 10 50
30 47.8
หน่อบีโกเนีย 30 48
60 45
รากขิง 10 55
รากสตรอเบอร์รี่ 5 52.8
รากกุหลาบ 60 45.5
ที่มา: Chaube and Singh (1990)
2. การใช้ลมร้อน (hot air treatment)
การใช้ลมร้อนในการควบคุมโรคพืช จะให้ประสิทธิภาพในการควบคุมที่น้อยกว่าการใช้ความร้อนชื้น
เนื่องจากการใช้ลมร้อนจะต้องการอุณหภูมิที่สูงกว่า จึงท�าให้เกิดความเสียหายต่อวัสดุหรือชิ้นส่วนพืชได้
มากกว่า ดังนั้นวิธีการใช้ลมร้อนจึงมักถูกน�ามาใช้เพื่อฆ่าเชื้อในดินเสียเป็นส่วนใหญ่ การใช้ลมร้อนซึ่งเป็นความ
ร้อนแห้ง เมื่อน�ามาฆ่าเชื้อในดินจะท�าให้ดินแห้งมาก และท�าลายอินทรีย์วัตถุในดิน ท�าให้พืชเจริญเติบโตได้
ไม่เต็มที่ ยิ่งไปกว่านั้น ความร้อนแห้งจะท�าให้เชื้อก่อโรคในดินต้านทานได้มากกว่าความร้อนชื้น การฆ่าเชื้อในดิน
ทั้งแบบที่ต้องการให้เชื้อตายทั้งหมด (sterilization) หรือฆ่าเชื้อบางส่วน (pasteurization) ทั้งที่การใช้ความ
ร้อนแห้งหรือความร้อนชื้น มักมีแนวทางในการปฏิบัติที่เหมือนกันคือ จะต้องควบคุมอุณหภูมิให้ได้ประมาณ
70-80 องศาเซลเซียส เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง จากนั้นท�าให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพของธาตุ
อาหารในดิน
นอกจากนี้ ลมร้อนได้ถูกน�ามาใช้ในการควบคุมโรคในชิ้นส่วนพืช เช่น เมล็ด หรือส่วนขยายพันธุ์อื่น ๆ
แต่ใช้ในระดับอุณหภูมิที่ต�่ากว่า ซึ่งพบว่าเป็นวิธีการที่ง่ายและท�าความเสียหายต่อเมล็ดน้อย แต่ก็ยังให้ผลในการ
ควบคุมโรคน้อยกว่าวิธีการจุ่มน�้าร้อน มีหลายรายงานที่ได้มีการน�าลมร้อนมาใช้ในการควบคุมโรคของอ้อยหลายชนิด
โดยพบว่าการใช้ลมร้อนที่อุณหภูมิ 54 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ชั่วโมง สามารถควบคุมโรคเน่าแดง (red rot)
35
บทที่ 3 การควบคุมโรคพืชโดยวิธีกายภาพ
ผู ้ ช ่ วยศาสตราจารย ์ ดร.วีระณีย ์ ทองศรี