Page 43 -
P. 43
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ของอ้อยพันธุ์ต่าง ๆ เช่น Co 527, CoS 510, Bo 3 และ Bo 32 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต่อมาได้มีการน�า
ลมร้อนที่ระดับอุณหภูมิและระยะเวลาดังกล่าวมาควบคุมโรคกอตะไคร้ (grassy shoot) และตอแคระแกรน
(ratoon stunt) ในท่อนพันธุ์อ้อยในระดับอุตสาหกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยที่ไม่มีผลกระทบต่อการงอก
ของท่อนพันธุ์แต่อย่างใด นอกจากนี้ การใช้ลมร้อนที่อุณหภูมิ 51-54 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน สามารถ
ควบคุมโรคเขม่าด�าในธัญญพืชได้หลายชนิด อย่างไรก็ตาม การใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อในท่อนพันธุ์เหล่านี้
จ�าเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่คงที่ตลอดช่วงของการฆ่าเชื้อ ดังนั้นจึงควรใช้ thermocouple
(เครื่องมือวัดอุณหภูมิที่มีความไวสูง) มาตรวจสอบอุณหภูมิทั้งบริเวณที่เป็นจุดก�าเนิดลมร้อน และบริเวณ
เป้าหมายที่เก็บท่อนพันธุ์ที่ต้องการฆ่าเชื้อ ตัวอย่างเช่น ต้องการรักษาระดับอุณหภูมิให้ได้ 54 องศาเซลเซียส
จะต้องตั้งจุดก�าเนิดลมร้อนให้ได้อุณหภูมิตั้งต้นที่ 58 องศาเซลเซียส ซึ่งจะท�าให้บริเวณเป้าหมายใช้เวลา
ในการปรับสภาพเพื่อให้ได้ระดับอุณหภูมิที่ต้องการนั้นสั้นลง
3. การใช้ไอน�้าร้อน (steam)
การใช้ไอน�้าร้อนจะมีความประหยัดและมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้ลมร้อนในการควบคุมโรคที่ติดมา
กับเมล็ดพันธุ์ ระดับความร้อนที่ได้จากไอน�้าร้อนจะมีประสิทธิภาพต�่ากว่าการจุ่มน�้าร้อน 50% แต่จะสูงกว่าการ
เป่าด้วยลมร้อน 2.5 เท่า ดังนั้นการใช้ไอน�้าร้อน จึงต้องใช้ระดับอุณหภูมิและระยะเวลาที่สูงกว่าการจุ่มในน�้าร้อน
แต่ต�่ากว่าการใช้ลมร้อน ข้อดีของการใช้ไอน�้าร้อน คือ เป็นวิธีที่ควบคุมอุณหภูมิได้ง่าย ท�าให้เมล็ดแห้งเร็วขึ้น
และเมล็ดยังคงมีอัตราการงอกในระดับสูง รวมทั้งไม่ท�าลายเยื่อหุ้มเมล็ด นอกจากนี้ ได้มีการน�าเอาไอน�้าร้อนมา
ควบคุมโรคในพืชหลายชนิด เช่น อ้อย กล้วย และส้ม เป็นต้น การใช้ไอน�้าร้อนเคยถูกน�ามาใช้ในโรงเรือนปลูกพืช
ในช่วงฤดูหนาว โดยไอน�้าร้อนจะแทรกเข้าสู่อนุภาคของดินอย่างช้า ๆ ท�าให้ช่วยปรับระดับอุณหภูมิของดินให้สูงขึ้น
เพื่อให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
ส�าหรับวิธีการช่วยแพร่กระจายไอน�้าร้อนเพื่อฆ่าเชื้อในดินได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพในโรงเรือน
ส�าหรับปลูกพืชเพื่อเป็นการค้า มักจะใช้วิธีส่งไอน�้าร้อนผ่านท่อที่ฝังไว้ใต้ดินที่ความลึกประมาณ 4.5 ฟุต
โดยวางท่อให้ห่างกันเป็นระยะ ๆ (ภาพที่ 3.1) และต้องปล่อยไอน�้าร้อนออกมา 1-2 ชั่วโมงก่อน เพื่อให้ระดับ
อุณหภูมิของดินที่ความลึก 10-20 นิ้ว มีค่าประมาณ 66-100 องศาเซลเซียส จึงค่อยจับเวลาในการฆ่าเชื้อ
โดยทั่วไปแล้วความลึกของการฝังท่อ และระยะเวลาในการปล่อยไอน�้าร้อน มักขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ต้องการปลูก
หรือชนิดของศัตรูพืชที่ต้องการก�าจัด รวมทั้งชนิดของดิน เช่น ในดินร่วนอาจใช้เวลา 1 ชั่วโมงในการปล่อย
ไอน�้าร้อน ส่วนในดินเหนียวอาจต้องใช้เวลามากขึ้น และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ มักมีการ
คลุมแผ่นพลาสติกบนผิวหน้าดินร่วมด้วย เพื่อยืดเวลาให้ไอน�้าร้อนได้สัมผัสกับเม็ดดินได้ยาวนานขึ้น การฆ่าเชื้อ
โดยวิธีการฝังท่อนี้มักให้ผลดีในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม และเชื้อรา Fusarium หรือ Verticillium
ที่เป็นสาเหตุของโรคเหี่ยวในพืชหลายชนิด
การใช้ไอน�้าร้อนมักมีการน�ามาใช้ภายใต้ความดัน (pressured steam) ภายใต้เงื่อนไข 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส โดยนอกจากจะให้ประสิทธิภาพสูงในการฆ่าเชื้อในดินแล้ว ยังนิยมน�ามาฆ่าเชื้อ
ในภาชนะบรรจุดิน เช่น กระถาง หรือเครื่องมืออื่น ๆ อุณหภูมิและความดันที่ใช้ จะถูกปรับให้เหมาะสมกับวัสดุ
ที่ต้องการจะฆ่าเชื้อ ซึ่งเมื่ออุณหภูมิลดลง ความดันก็จะลดลงตามไปด้วย (ตารางที่ 3.4)
36 หลักการควบคุมโรคพืช
Principles of Plant Disease Control