Page 45 -
P. 45

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                    การใช้ไอน�้าร้อนในระดับอุณหภูมิที่ต�่านี้ จะไม่ท�าลายอินทรีย์วัตถุหรือโครงสร้างของดิน ตลอดจนสิ่งมีชีวิตที่มี
              ประโยชน์อื่น ๆ ในดิน ซึ่งจะเป็นการช่วยลดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในดินได้อีกทางหนึ่ง โดยสัดส่วนของ
              ปริมาตรอากาศต่อไอน�้าร้อนที่เปลี่ยนแปลงไป จะท�าให้อุณหภูมิสุดท้ายที่ได้จากไอน�้าร้อนแตกต่างกัน เช่น

              จากไอน�้าร้อนเริ่มต้นซึ่งมีอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เมื่อน�ามาผสมกับอากาศในอัตราส่วน 1:1 จะท�าให้ได้
              อุณหภูมิ 82 องศาเซลเซียส ถ้าผสมในอัตราส่วน 2:1 จะท�าให้ได้อุณหภูมิ 71 องศาเซลเซียส แต่ถ้าหากผสม

              ในอัตราส่วน 4:1 จะท�าให้ได้อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นต้น นอกจากนี้ได้มีการสร้างไดอะแกรมอัตราส่วน
              การผสมของมวลอากาศกับไอน�้าร้อนภายใต้ความดัน โดยเมื่อผสมมวลอากาศในอัตราส่วนที่สูงขึ้น จะท�าให้
              อุณหภูมิของไอน�้าร้อนต�่าลงเรื่อย ๆ ภายใต้สภาวะความดันนั้น ๆ (ภาพที่ 3.3)

                    นอกจากนี้ ยังมีการน�าไอน�้าร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส (superheated steam) มาใช้
              ในการฆ่าเชื้อในเครื่องมือการเกษตรต่าง ๆ ที่อาจมีการติดเชื้อหลังการน�าไปใช้ในแปลง เช่น ผานไถ เครื่องมือ

              เก็บเกี่ยวผลผลิต หรือเครื่องมือหลังการเก็บเกี่ยวอื่น ๆ ซึ่งความร้อนดังกล่าวไม่เหมาะสมต่อการน�าไปใช้ในการ
              ควบคุมโรคพืช













































              ภาพที่ 3.2 ระดับความร้อนหรืออุณหภูมิที่สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชชนิดต่าง ๆ

              ที่มา: Maloy (1993)










        38           หลักการควบคุมโรคพืช
                Principles of Plant Disease Control
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50