Page 49 -
P. 49

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





              ตารางที่ 3.8  ผลของการคลุมแผ่นพลาสติกเปรียบเทียบกับการใช้สารเคมีป้องกันก�าจัดไส้เดือนฝอยต่อการลด
                           จ�านวนประชากรวัชพืชในแปลงปลูกมันฝรั่ง

                                  กรรมวิธี                           จ�านวนประชากรของวัชพืช (%)
               คลุมแผ่นพลาสติก (polyethylene)                                    9.1

               สารเคมีป้องกันก�าจัดไส้เดือนฝอย                                   30.0
               ไม่ใช้วิธีการใด                                                   49.1

              หมายเหตุ: 140 วันหลังการปลูกมันฝรั่ง
              ที่มา: Chaube and Singh (1990)



                    ความร้อนจากแสงอาทิตย์สามารถควบคุมวัชพืชได้ด้วยกลไกที่เกี่ยวข้องหลายประการ ได้แก่

                    1. ความร้อนสามารถฆ่าเมล็ดวัชพืชได้
                    2. ความร้อนสามารถลดการกระตุ้นเพื่อให้เมล็ดงอก

                    3. ความร้อนช่วยท�าลายระยะพักตัวของเมล็ดวัชพืช โดยช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น และฆ่าเมล็ดที่งอก
              ภายหลัง
                    4. ความร้อนท�าให้เมล็ดอ่อนแอจึงง่ายต่อการถูกท�าลายด้วยปัจจัยต่าง ๆ หรือการเข้าท�าลายของเชื้อ

              จุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน นอกจากนี้ ไอระเหย (volatile) ที่เกิดขึ้นภายใต้การคลุมแผ่นพลาสติกก็สามารถฆ่าหรือ
              ท�าลายระยะพักตัวของวัชพืชได้



              การใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ควบคุมโรคพืชร่วมกับวิธีการอื่น ๆ
                    แสงอาทิตย์ถูกน�ามาใช้ในการควบคุมโรคพืชร่วมกับวิธีการอื่น ๆ เช่น ใช้ร่วมกับสารเคมี ชีววิธี และการเขตกรรม

              ในส่วนของการใช้ร่วมกับชีววิธีนั้น ได้มีการน�าเชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma harzianum มาใช้ร่วมกับแสงแดด
              เพื่อลดปริมาณเชื้อรา Rhizoctonia solani ในดิน ซึ่งช่วยชะลอการสร้างส่วนก่อโรค (inoculum) ใหม่ของ

              เชื้อราได้ ในขณะที่การใช้สารเคมีป้องกันก�าจัดเชื้อรา vapam ร่วมกับการใช้แสงแดดสามารถเพิ่มศักยภาพ
              ในการควบคุมโรคฝักจุดของถั่วลิสงได้ ในส่วนของการใช้วิธีการเขตกรรม เช่น การปลูกพืชหมุนเวียนร่วมกับการ
              ใช้แสงแดดสามารถเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคเหี่ยวของฝ้ายที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Fusarium oxysporum

              f.sp. vasinfectum ได้ในระยะยาว รวมทั้งการใช้สารเคมี PCNB ร่วมกับแสงแดดสามารถควบคุมโรคเหี่ยว
              ที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium sp. ของถั่วบางชนิดได้ โดยเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรคได้ดีกว่า

              การใช้ความร้อนเพียงอย่างเดียว
                    การใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ควบคุมโรคพืช มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของพืชเช่นเดียวกับการ
              ควบคุมโรคพืชด้วยวิธีการอื่น ๆ โดยพบว่าจากการใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือสารเคมีป้องกันก�าจัด

              ไส้เดือนฝอย (nematicide) ในแปลงมันฝรั่ง สามารถเพิ่มผลผลิตของมันฝรั่งได้ เนื่องจากวิธีการดังกล่าว
              สามารถลดการเข้าท�าลายของเชื้อรา Verticillium dahliae และไส้เดือนฝอย Pratylenchus thornei ได้

              ซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น 34.7 และ 39.8% ตามล�าดับ นอกจากนี้ การใช้แสงอาทิตย์ควบคุมโรคพืช
              ยังสามารถท�าให้เกิดการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในพืชหลายชนิด ดังแสดงไว้ในตารางที่ 3.9






        42           หลักการควบคุมโรคพืช
                Principles of Plant Disease Control
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54