Page 51 -
P. 51
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ใช้รังสีแกมม่า ซึ่งมักอยู่ในช่วงความเข้มข้น 4-16 krads ได้มีการน�ามาใช้เพื่อยืดอายุและชะลออาการเน่าในพืช
ผักหลายชนิด เช่น หัวหอม มันฝรั่ง และมะเขือเทศ นอกจากนี้ ที่ความเข้มข้นที่สูงขึ้น เช่น 85 และ 200 krads
ได้ถูกน�ามาใช้เพื่อช่วยลดความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยวเนื่องจากการเข้าท�าลายของเชื้อจุลินทรีย์ในสตรอว์เบอร์รี
และแอปเปิ้ล ตามล�าดับ ส�าหรับระดับความเข้มข้นของรังสีที่น�ามาใช้นั้น ต้องไม่ท�าให้เกิดความเสียหายต่อ
เนื้อเยื่อพืชชนิดนั้น ๆ
รังสีอุลตราไวโอเลต เป็นรังสีที่มีช่วงคลื่นยาวมากกว่ารังสีแกมม่าและรังสีเอ็กซ์ ไม่มีคุณสมบัติแทรกซึม
เข้าสู่เนื้อเยื่อภายใน จึงมักถูกน�ามาใช้เพื่อฆ่าเชื้อที่พื้นผิววัสดุ
รังสีจากคลื่นวิทยุความถี่สูง ได้ถูกน�ามาควบคุมเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชทางดิน แต่ไม่ประสบผลส�าเร็จ
เท่าที่ควร เนื่องจากระดับความร้อนที่ได้ไม่สม�่าเสมอและอยู่ในระดับที่ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ แต่เมื่อน�ามาใช้
ฆ่าเชื้อในเมล็ดข้าวสาลีและข้าวโพดร่วมกับลมร้อนที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที พบว่า
สามารถลดจ�านวนเชื้อรา Aspergillus flavus ได้ ส่วนรังสีไมโครเวฟสามารถน�ามาฆ่าเชื้อไวรัสที่ติดมากับเมล็ด
ถั่วเหลืองได้ แต่จะท�าให้เกิดความผิดปกติกับเมล็ดที่งอก จึงไม่ค่อยนิยมใช้เท่าใดนัก
6. การไขน�้าให้ท่วมแปลง (flooding)
การไขน�้าให้ท่วมแปลง เป็นวิธีการปฏิบัติที่ช่วยลดหรือก�าจัดเชื้อที่ก่อโรคทางดินมาอย่างยาวนาน
เนื่องจากสภาวะที่ถูกน�้าท่วมจะท�าให้ดินขาดออกซิเจน หรือมีการสะสมคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูง ท�าให้
มีผลกระทบต่อการเจริญของเชื้อราที่อยู่ในดิน เช่น เชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. cubense สาเหตุ
โรคเหี่ยวของกล้วย ซึ่งโดยปกติแล้วสปอร์ของเชื้อราจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดในดินได้เป็นเวลานาน เชื้อราจึง
มีการปรับตัวโดยสร้าง chlamydospores ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ใช้อยู่ข้ามฤดูในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมขึ้น
และเมื่อท�าการไขน�้าท่วมแปลง ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงขึ้นนี้ จะยับยั้งการสร้าง chlamydospores
แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาจพบว่าคาร์บอนไดออกไซด์ที่ความเข้มข้นต�่า ๆ จะกระตุ้นการงอกของสปอร์เชื้อราได้
แต่สปอร์ที่งอกนี้จะถูกยับยั้งหรือฆ่าโดยจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่อยู่ในบริเวณนั้น นอกจากนี้การไขน�้าท่วมแปลงได้
ถูกน�ามาใช้ในแปลงข้าว และไร่ฝ้ายที่ปลูกสลับกับการปลูกข้าว โดยมีเป้าหมายในการลดประชากรของเชื้อรา
Verticillum ในไร่ฝ้าย ที่ต้องปล่อยน�้าให้ท่วมแปลงเป็นเวลา 17 สัปดาห์ ในช่วงฤดูแล้งซึ่งจะช่วยท�าให้ประชากร
ของเชื้อราดังกล่าวลดลงได้
การไขน�้าเข้าแปลงเป็นระบบการให้น�้าปกติของการเตรียมแปลงเพื่อปลูกเผือก โดยต้องไขน�้าให้ท่วม
แปลงและมีความลึกอย่างน้อย 2 นิ้วก่อนปลูก ในขณะปลูกจนถึงระยะเก็บเกี่ยวต้องรักษาระดับน�้าให้ได้ความลึก
1-2 นิ้ว ถ้าหากสภาพอากาศค่อนข้างอุ่นเป็นระยะเวลานาน จะท�าให้เกิดการเข้าท�าลายของเชื้อรา Pythium
ท�าให้เกิดโรคเน่าเละได้ แต่กลับพบว่าวิธีการดังกล่าวสามารถลดการเข้าท�าลายของเชื้อราสาเหตุโรคไหม้ในเผือกได้
เกษตรกรที่ปลูกเผือกจึงใช้วิธีการนี้เพื่อลดโรคไหม้กันอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ การไขน�้าท่วม
แปลงสามารถน�ามาใช้ในการควบคุมโรคพืชอีกหลายชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังแสดงไว้ในตารางที่ 3.10
44 หลักการควบคุมโรคพืช
Principles of Plant Disease Control