Page 56 -
P. 56

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                บทที่
                4                              การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี










                                                                                ดร.สุพจน กาเซ็ม
                                                                                        ์






                      การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี (Biocontrol หรือ biological control) จัดเป็นหนึ่งในวิธีการที่สามารถ

                เลือกปฏิบัติเพื่อการจัดการโรคพืช ซึ่งวิธีการทางชีววิธีดังกล่าวนี้เป็นวิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สุขภาพ
                เกษตรกร และสุขภาพผู้บริโภค เนื่องจากเป็นวิธีการทางธรรมชาติที่สามารถใช้ร่วมหรือสลับ ตลอดจนทดแทน

                การใช้สารเคมีควบคุมโรคพืชได้ การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีมีหลักเกณฑ์คือการใช้จุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติที่ดี ทั้งรา
                แบคทีเรีย ไวรัส หรืออาจรวมถึงการใช้ไส้เดือนฝอยตัวห�้า ที่มีคุณสมบัติการเป็นจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ (Antagonistic
                microorganisms) ในการควบคุม (Control) หรือ ก�าจัด (Eradicate) เชื้อสาเหตุโรคพืชต่าง ๆ ให้ไม่สามารถ

                ท�าความเสียหายกับพืชได้ ซึ่งจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เหล่านี้จะมีกลไกที่หลากหลายในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช
                เช่น รบกวน (Interfere) หรือ ยับยั้ง (Suppression) การเจริญเติบโต ลดปริมาณ (Reduce) และ ท�าลาย

                (Destroy) ประชากรของเชื้อสาเหตุโรคพืชให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับพืช ซึ่งการใช้จุลินทรีย์
                ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคพืชจะสามารถใช้แบบเชื้อเดี่ยวชนิดใดชนิดหนึ่งหรือสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่ง (Single
                strain) หรือหลายสายพันธุ์ (Mixed strains) ที่สามารถด�ารงชีวิตและแสดงกลไกร่วมกันได้ หรือการใช้ประโยชน์

                จากสารทุติยภูมิ (Secondary metabolites) ที่จุลินทรีย์ผลิตขึ้น เช่น เอนไซม์ สารพิษ หรือสารปฏิชีวนะที่มี
                ผลต่อเชื้อสาเหตุโรคพืชต่าง ๆ ตลอดจนสารควบคุม/ส่งเสริมการเจริญเติบโตพืช ทั้งนี้กลไกส�าคัญที่จุลินทรีย์

                ปฏิปักษ์เหล่านี้มีต่อประสิทธิภาพในการควบคุมโรคพืชจะแบ่งออกเป็น 2 ปฏิสัมพันธ์หลักคือ กลไกการเป็น
                เชื้อปฏิปักษ์โดยตรง (Direct antagonism) คือเชื้อปฏิปักษ์มีศักยภาพในการยับยั้งหรือท�าลายเชื้อสาเหตุโรค
                โดยตรง และกลไกการเป็นเชื้อปฏิปักษ์ทางอ้อม (Indirect antagonism) คือเชื้อปฏิปักษ์มีผลต่อพืชปลูก

                ทั้งด้านการเจริญเติบโตและความต้านทานโรค และผลดังกล่าวที่เกิดกับพืชจะมีผลต่อการลดความสามารถ
                ในการเข้าท�าลายและความรุนแรงของเชื้อก่อโรคได้



                ความหมายและขอบเขตการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี


                      การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี หมายถึงการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือสายพันธุ์ใดสายพันธุ์
                หนึ่งหรือหลายสายพันธุ์ หรือหลายชนิดร่วมกัน เพื่อลดจ�านวนหรือควบคุมประชากรของเชื้อสาเหตุโรค รวมทั้ง
                การหยุดยั้งกิจกรรมหรือกระบวนการเข้าท�าลายพืชของเชื้อสาเหตุโรค รวมถึงการใช้ประโยชน์จากสารที่จุลินทรีย์

                เหล่านั้นผลิตขึ้นมา เช่น สารปฏิชีวนะ และเอนไซม์ย่อยสลาย เป็นต้น (Cook and Baker, 1983 ; Baker, 1987)
                ทั้งนี้การใช้จุลินทรีย์ควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีนั้นสามารถใช้ได้ทั้งระยะเชื้อโรคมีการพักตัว และระยะที่พร้อม

                เข้าท�าลายพืชที่อาจอยู่ในดินปลูก และส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น เมล็ด ราก ล�าต้น ใบ ดอก ผล แต่จะให้ผลดี


                                                                                                               49
                                                                                  บทที่ 4  การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี
                                                                                                     ดร.สุพจน ์  กาเซ็ม
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61