Page 58 -
P. 58
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หลักการส�าคัญของการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี
จากค�านิยามและความหมายของการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีข้างต้นที่เป็นการใช้จุลินทรีย์ชนิดหนึ่งหรือ
หลายชนิดในการควบคุมเชื้อสาเหตุ จึงได้แบ่งหลักการของการใช้จุลินทรีย์ควบคุมโรคพืชเป็น 3 ประเด็นหลัก
(Pal and Gardener, 2006) ดังนี้คือ
1. การใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อลดปริมาณประชากรเชื้อสาเหตุโรคหรือแหล่งก่อโรค (Reduction of
pathogen inoculums by antagonistic microorganism) เป็นแนวทางการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในแปลง
ปลูกพืชในขั้นตอนของการเตรียมพื้นที่ หรือวัสดุปลูก ซึ่งในดินปลูกหรือวัสดุปลูกดังกล่าวอาจมีเชื้อสาเหตุ
โรคพืชปะปนอยู่ การใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์จึงสามารถใช้ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเตรียมแปลง หรือการเตรียมวัสดุปลูก
เพื่อลดหรือท�าลายประชากรเชื้อโรคให้หมดจากพื้นที่ปลูกหรืออยู่ในระดับที่ไม่สามารถเข้าท�าลายพืชได้
2. การป้องกันและปกป้องพืชจากการเข้าท�าลายของเชื้อสาเหตุโรค (Protection of host plant
surface by antagonistic microorganism) เป็นแนวทางการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์กับต้นพืชปลูกในทุกระยะ
การปลูกตั้งแต่การคลุกเมล็ดหรือท่อนพันธุ์ที่อาจมีเชื้อสาเหตุโรคปนเปื้อน หรือการใส่ในดินปลูกหรือรองก้นหลุม
เพื่อปกป้องรากพืชจากเชื้อโรคทางดิน หรือการพ่นเชื้อปฏิปักษ์ที่ต้นพืชส่วนเหนือดิน ใบ ล�าต้น ดอก ผล
เพื่อให้เชื้อปฏิปักษ์ดังกล่าวเพิ่มปริมาณและครอบครองพื้นที่ผิวพืช ซึ่งจะสามารถปกป้องส่วนของพืชให้ปลอดภัย
จากเชื้อโรคพืชที่จะเข้ามาในระหว่างที่พืชเจริญเติบโต
3. การจัดการและปรับปรุงคุณสมบัติทางสรีรวิทยาและชีวเคมีของพืชให้ไม่เหมาะสมต่อการเข้าท�าลาย
ของเชื้อสาเหตุและพัฒนาการของอาการโรค (Improving physiological and biochemical properties of
host plant againsts pathogen infection and disease development) ถือเป็นหลักการที่ส�าคัญในการ
ใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในระบบการจัดการโรคพืช เนื่องจากในสภาวะกดดันของพืช (Plant stress) ทั้งที่เกิดจาก
สิ่งมีชีวิต (Biotic agents) และ สิ่งไม่มีชีวิต (Abiotic agents) จะท�าให้พืชสูญเสียความสามารถในการด�ารงชีวิต
ระบบต่าง ๆ ภายในพืชเกิดความแปรปรวน เช่นระบบล�าเลียงน�้าและอาหารผิดปกติ จะส่งผลให้พืชใช้ธาตุอาหาร
ได้ไม่เต็มที่และระบบภูมิต้านทานโรคลดต�่าลงและง่ายต่อการเข้าท�าลายของเชื้อโรค จุลินทรีย์ปฏิปักษ์หลายชนิด
มีคุณสมบัติแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกับพืช (Symbiosis) และเมื่อน�ามาใช้ร่วมกับพืชแล้วจะส่งเสริมให้พืช
สามารถทนทานต่อสภาวะกดดันดังกล่าวได้ โดยกลไกของจุลินทรีย์ในกลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับการปรับสมดุล
ของระบบสรีรวิทยาและชีวเคมีของพืช ท�าให้พืชสามารถใช้ธาตุอาหารได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น จุลินทรีย์
ย่อยสลายฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ส�าหรับพืช (Phosphate solubilizing microorganism)
จุลินทรีย์ตรึงธาตุไนโตเจน (Nitrogen fixation microorganism) หรือจุลินทรีย์ส่งเสริมการเจริญเติบโตพืช
(Plant growth promoting microorganism) ที่ผลิตสารควบคุมการเจริญเติบโตได้โดยตรงหรือกระตุ้นให้พืช
ผลิตเพิ่มอย่างพอเพียง
จุลินทรีย์ปฏิปักษ์และกลไกที่เกี่ยวข้อง
จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ (Antagonistic microorganisms) หมายถึงจุลินทรีย์ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการยับยั้ง (Suppression) หยุดยั้ง (Inhibition) และท�าลาย (Destroy) จุลินทรีย์ชนิดอื่น
หรือสิ่งมีชีวิตอื่นด้วยกลไกต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อครอบครองอาณาเขตพื้นที่ (Habitat colonization) เช่น
ผิวใบ (Leaf surface) ผิวราก (Root surface) ดินบริเวณรอบราก (Rhizosphere soil) และล�าต้น (Stem surface)
51
บทที่ 4 การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี
ดร.สุพจน ์ กาเซ็ม