Page 50 -
P. 50

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                ตารางที่ 3.9  ผลของการใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ควบคุมโรคพืชท�าให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
                      พืช                   เชื้อสาเหตุโรค             ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากกรรมวิธีควบคุม (%)

                 ฝ้าย          Fusarium oxysporum f.sp. vasinfectum                   40-70
                               Verticillium dahliae                                    60

                 มะเขือ        V. dahliae                                              215
                 หอม           Pyrenocheta terrestris                                60-125
                 ถั่วลิสง      Sclerotium rolfsii                                     42-64

                 มันฝรั่ง      V. dahliae                                              35
                 มะเขือเทศ     Pyrenocheta lycopersici                              100-300

                 ดอกค�าฝอย     V. dahliae                                              113
                ที่มา: Chaube and Singh (1990)




                5. การฉายรังสี (radiation)

                      การฉายรังสีเป็นวิธีการดั้งเดิมที่ถูกน�ามาใช้ในการฆ่าเชื้อทั้งในดินและชิ้นส่วนของพืช โดยเฉพาะรังสีจาก
                คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกน�ามาใช้เป็นแหล่งผลิตพลังงานความร้อนเพื่อก�าจัดเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรค ซึ่งมีหลาย

                ชนิด ได้แก่ รังสีอุลตราไวโอเลต (uv light) รังสีเอ็กซ์ (X-rays) รังสีแกมม่า (gamma rays) รังสีอินฟราเรด
                (infrared) และรังสีอุลตราโซนิค (ultrasonic) เป็นต้น โดยรังสีเหล่านี้จะมีความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน ดังแสดง
                ในภาพที่ 3.5






















                ภาพที่ 3.5 ความยาวคลื่นและความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

                ที่มา: Maloy (1993)



                      รังสีเอ็กซ์ และรังสีแกมม่า เคยถูกน�ามาใช้เพื่อตรวจหาอาการผุหรือเน่าภายในของเนื้อไม้ และลักษณะ
                อาการเป็นโพรงภายในของหัวมันฝรั่งเนื่องจากความผิดปกติทางด้านพันธุกรรม รังสีเอ็กซ์ได้ถูกน�ามายับยั้ง
                ลักษณะอาการบวมพอง (crown gall) ของพืชหลายชนิด ตลอดจนน�ามาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่มีการปนเปื้อนใน

                ถุงบรรจุหัวมันฝรั่งที่ใช้ท�าพันธุ์ ยิ่งไปกว่านั้น รังสีดังกล่าวซึ่งมักมีแหล่งก�าเนิดมาจาก cobalt-60 ได้ถูกน�ามายืด
                อายุผักและผลไม้หลายชนิด เนื่องจากให้ค่าพลังงานค่อนข้างสูง (แทรกซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อพืชได้ดี) ในส่วนของการ



                                                                                                               43
                                                                                บทที่ 3  การควบคุมโรคพืชโดยวิธีกายภาพ
                                                                                            ผู ้ ช ่ วยศาสตราจารย ์  ดร.วีระณีย ์   ทองศรี
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55