Page 46 -
P. 46
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภาพที่ 3.3 อัตราส่วนที่เหมาะสมของการผสมมวลอากาศในไอน�้าร้อนภายใต้สภาวะความดัน
ที่มา: Maloy (1993)
4. การใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ (solarization หรือ solar heat treatment)
4.1 การใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ควบคุมโรคพืชที่ติดมากับเมล็ด (seed-borne diseases)
การใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ถูกน�ามาใช้ในการควบคุมโรคราเขม่าด�า (loos smut) ของข้าวสาลี
โดยแช่เมล็ดไว้ในน�้าเป็นเวลา 4 ชั่วโมง ก่อนที่จะน�ามาผึ่งภายใต้แสงอาทิตย์เป็นเวลา 4 ชั่วโมง ในช่วงเวลา
12:00 – 16:00 น. รวมทั้งยังสามารถน�ามาก�าจัดโรคราเขม่าด�าในข้าวบาร์เล่ย์ได้เช่นกัน โดยน�าเมล็ดมาห่อไว้
ด้วยผ้าแล้วผึ่งแดดแทนการตากเมล็ดโดยตรงบนพื้นซีเมนต์ นอกจากนี้ยังมีการใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์
เพื่อลดปริมาณเชื้อรา Ascochyta rabiei ในเมล็ดถั่วผี โดยผึ่งเมล็ดไว้บนพื้นซีเมนต์ ตลอดช่วงที่มีแสงแดด
เป็นระยะเวลา 15 วัน ซึ่งสามารถลดความมีชีวิตรอดของเชื้อราจาก 31.5% เป็น 16% แต่ส�าหรับเมล็ดที่เคลือบผิว
ด้วยสารโพลีเอทลีนจะช่วยลดความมีชีวิตรอดของเชื้อได้ดีกว่า โดยวิธีการใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์นี้จะไม่ท�าลาย
การงอกของเมล็ดแต่อย่างใด
4.2 การใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ส�าหรับฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในดิน (soil solarization)
การใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ถูกน�ามาใช้ในการลดปริมาณหรือก�าจัดเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคที่อยู่ในดิน
ซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกับการใช้ความร้อนด้วยวิธีการอื่น ๆ เช่น อบด้วยไอน�้าร้อน โดยอุณหภูมิที่จะฆ่าเชื้อใน
ดินได้ต้องอยู่ในระดับ 60-100 องศาเซลเซียส แสงอาทิตย์ไม่จ�าเป็นต้องมีตัวพาเพื่อน�าความร้อนไปยังวัตถุหรือ
เป้าหมายที่ต้องการฆ่าเชื้อ เพียงแค่เคลื่อนผ่านอากาศที่มีอุณหภูมิต�่ากว่าก็สามารถฆ่าเชื้อในวัตถุหรือในดินได้
อนุภาคของดินมีการดูดกลืนคลื่นแสงจากดวงอาทิตย์ โดยจะดูดกลืนได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง
ๆ เช่น สีของเม็ดดิน ความชื้นในดิน และโครงสร้างของดิน โดยทั่วไปแล้ว ดินจะมีค่าความสัมพันธ์กับความจุความ
ร้อน (thermal capacity) ในระดับสูง แต่มีค่าการน�าความร้อนต�่ามาก จึงท�าให้ความร้อนแทรกซึมลงไปในดิน
ได้อย่างช้า ๆ ความร้อนที่ซึมผ่านหน้าดินจะถูกเก็บไว้ในอนุภาคของดิน พร้อมทั้งจะถูกเก็บไว้ในช่วงกลางคืน และ
จะถูกปลดปล่อยออกเมื่ออุณหภูมิอากาศค่อย ๆ เย็นลง
การเพิ่มศักยภาพของความร้อนจากแสงอาทิตย์ในการฆ่าเชื้อในดิน มักมีการคลุมแผ่นพลาสติกบนผิว
หน้าดินเพื่อเพิ่มระดับอุณหภูมิให้สูงขึ้น โดยความหนาของพลาสติกจะมีผลต่อระดับอุณหภูมิที่ความลึกของดิน
ในระดับต่าง ๆ ซึ่งพลาสติกที่บางกว่าจะท�าให้ดินได้ระดับอุณหภูมิที่สูงกว่าการใช้พลาสติกหนา (ตารางที่ 3.5)
เนื่องจากมีคุณสมบัติให้แสงแดดส่องผ่านได้มากกว่า และยังมีราคาถูก ท�าให้เกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น
39
บทที่ 3 การควบคุมโรคพืชโดยวิธีกายภาพ
ผู ้ ช ่ วยศาสตราจารย ์ ดร.วีระณีย ์ ทองศรี