Page 37 -
P. 37
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3. เริ่มด�าเนินงานทุกขั้นตอนตามแผนการจัดการที่วางไว้ ตั้งแต่ก่อนปลูกพืช โดยการน�ากลยุทธ์
การจัดการโรคพืชทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น คือ
1. การลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคในระยะเริ่มแรก
2. การลดอัตราการติดเชื้อหรือการเข้าท�าลายของเชื้อสาเหตุโรค
3. การลดช่วงเวลาของการระบาด
ซึ่งแต่ละกลยุทธ์ประกอบด้วยยุทธวิธีในการควบคุมโรคตามหลักการควบคุมโรคพืช ดังนั้นการจัดการโรคพืช
ที่ดีต้องเลือกวิธีการที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับพืชและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่ต้องการจัดการโรคพืช
4. ส�ารวจโรคอย่างสม�่าเสมอ เมื่อพืชเริ่มงอกจนพืชเจริญเติบโตให้ผลผลิตและเก็บเกี่ยวได้ การส�ารวจนี้
ต้องเริ่มท�าตั้งแต่พืชยังอายุน้อย โดยท�าการส�ารวจเปรียบเทียบกับลักษณะอาการของโรคพืชดังข้อมูลที่ได้
รวบรวมไว้อย่างสม�่าเสมอ
5. เมื่อพบอาการผิดปกติ ต้องตรวจดูตามวิธีการทางโรคพืช นั่นคือการวินิจฉัยโรคพืช เป็นการ
วิเคราะห์หาสาเหตุของโรค เพื่อให้ทราบชื่อ และชนิดของเชื้อโรค ปริมาณ การระบาด รวมถึงความเสียหาย
ที่เกิดขึ้นกับพืช เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมโรค ขั้นตอนนี้เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ส�าคัญมาก เนื่องจากการ
วินิจฉัยโรคที่ถูกต้องเป็นการน�ามาซึ่งความส�าเร็จในการจัดการโรค แต่หากการวินิจฉัยเกิดการผิดพลาดและ
วินิจฉัยผิด นั่นหมายความว่าเราอาจหาวิธีการควบคุมโรคพืชไม่ตรงตามสาเหตุ แก้ปัญหาไม่ได้ เสียเวลา แรงงาน
และสารเคมีป้องกันก�าจัดโดยเปล่าประโยชน์ หลังจากท�าการวินิจฉัยโรคแล้วต้องท�าการประเมินความเสียหาย
ก่อนตัดสินใจด�าเนินการ เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง
6. ตัดสินใจด�าเนินการ ขั้นตอนนี้เป็นส่วนที่มีความส�าคัญมากที่สุด เนื่องจากการตัดสินใจที่ผิดพลาด
น�ามาซึ่งการเสียเวลา แรงงาน ค่าใช้จ่าย ตลอดจนเกิดความเสียหายกับสภาพแวดล้อมหรือระบบนิเวศน์เกษตรได้
การตัดสินใจเลือกวิธีการที่เหมาะสมใด ๆ ในการควบคุมโรคพืชนั้น เกษตรกรต้องรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ช่วยใน
การตัดสินใจ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับพืช โรคพืช ระดับเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง
ระดับเศรษฐกิจ (Economic Threshold, ET) เป็นระดับของประชากรศัตรูพืชที่ต้องด�าเนินการควบคุม
เพื่อไม่ให้ปริมาณศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้นจนถึงระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจ ซึ่งระดับเศรษฐกิจหมายถึง
ระดับประชากรศัตรูพืชที่เมื่อลงทุนท�าการควบคุมไปแล้วจะให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (สุรเชษฐ์และคณะ 2543)
การควบคุมโรคพืชมีหลายวิธี เช่น การควบคุมโรคพืชโดยวิธีเขตกรรม ชีววิธี การใช้พันธุ์ต้านทาน การใช้วิธีทาง
กายภาพหรือทางฟิสิกส์ และการควบคุมโรคพืชด้วยสารเคมี เป็นต้น
7. การประเมินผลทั้งระบบ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนหลังสุดของระบบการจัดการโรคพืช ในการประเมิน
การท�างานทั้งหมดว่า การน�าระบบการจัดการโรคพืชเข้ามาใช้นั้นมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจหรือไม่ และ
สามารถลดการระบาดของโรคพืชได้มากน้อยเพียงใด
ข้อดีและข้อเสียของการจัดการโรคพืช
ข้อดี
1. เป็นการท�างานที่มีระบบ มีขั้นตอนและมีความต่อเนื่อง
2. ช่วยลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะเรื่องสารเคมี
3. ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมมิให้เสื่อมโทรมไปมากกว่าเดิม
4. ลดพิษภัยที่เกิดจากการใช้สารเคมี
30 หลักการควบคุมโรคพืช
Principles of Plant Disease Control