Page 35 -
P. 35

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                    4. การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศการเกษตร เป็นผลจากทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อระบบนิเวศ
              เกษตรมีการเปลี่ยนแปลงแต่ไม่เกิดความสมดุล เนื่องจากปลูกพืชชนิดเดียวกันเป็นบริเวณกว้าง ท�าให้เกิดการ
              ระบาดของศัตรูพืช มีการใช้สารเคมีมากขึ้นส่งผลเสียกับเกษตรกรผู้ผลิต ผู้บริโภคและสภาพแวดล้อม ต่อกัน

              เป็นลูกโซ่เช่นนี้ ดังนั้นการจัดการโรคพืชจึงต้องเข้ามามีบทบาทในการท�าให้เกิดประสิทธิภาพที่สูงสุด มีผลต่อ
              สภาพแวดล้อมน้อยและเสียค่าใช้จ่ายต�่าที่สุด

                    ในปี ค.ศ.1931 นักวิทยาศาสตร์ให้ความเห็นว่ากิจกรรมของมนุษย์ที่เพิ่มมากขึ้น เริ่มจากการปลดปล่อย
              ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าชเรือนกระจก คือ methane และ nitrous oxide ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ท�าให้
              เกิดภาวะโลกร้อน ทั้งหมดนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการกระท�าของมนุษย์ทั้งสิ้น แม้ปัจจุบันการที่โลก

              มีอุณหภูมิสูงขึ้น เกิดภาวะโลกร้อนก็เกิดจากมนุษย์เช่นกัน Coakley และคณะ (1999) รายงานว่าปี ค.ศ. 1998
              โลกมีอุณหภูมิรวมเฉลี่ยทั้งผืนแผ่นดินและมหาสมุทรสูงขึ้น 0.25 องศาเซลเซียส จากเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม

              และในเดือนกันยายนเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดในรอบ 104 ปีของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง
              20.6 องศาเซลเซียส เพิ่มจากเดิมที่อุณหภูมิเฉลี่ย 20.2 องศาเซลเซียส



              หลักการจัดการโรคพืช หลักการจัดการโรคพืชมี 5 ข้อดังนี้
                    1.  การจัดการโรคพืชจัดเป็นระบบของการใช้วิธีการใด ๆ ที่สามารถลดปริมาณเชื้อโรคลงจนไม่เป็นอันตราย

              ต่อพืช โดยไม่จ�าเป็นต้องก�าจัดให้หมดไป และกระบวนการนั้น ๆ ต้องมีผลต่อแวดล้อมน้อยและเสียค่าใช้จ่ายน้อย
                    2. ต้องจัดให้การจัดการโรคพืชเป็นส่วนหนึ่งของระบบการปลูกพืชทั้งหมด (ภาพที่ 2.2) และมีข้อมูล
              ทุกอย่างพร้อม




                                     การจัดการพืช                     การจัดการโรคพืช
                                                            ระบบการปลูกพืชรวม
                                     การจัดการดิน                     การจัดการแรงงาน


                                     การจัดการน้ำ                     การจัดการตลาด



                                    การจัดการวัชพืช                   การจัดการแมลง


              ภาพที่ 2.2 การจัดการให้การจัดการโรคพืชเป็นส่วนหนึ่งของระบบการปลูกพืชทั้งหมด
              ที่มา: สืบศักดิ์ (2553)


                    3. โรคนั้นต้องมีความส�าคัญทางเศรษฐกิจ ในการปลูกพืชนั้นแน่นอนว่าต้องมีโรคเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ

              ไม่เพียงโรคเดียว ดังนั้นการจัดการโรคพืชต้องเลือกโรคที่มีความส�าคัญทางเศรษฐกิจ เพื่อความคุ้มค่าในการ
              จัดการ ส่วนโรคอื่น ๆ ที่มีความส�าคัญน้อยกว่าให้หาวิธีการป้องกันก�าจัดหรือลดปริมาณโรคโดยไม่จ�าเป็นต้องเสียเวลา
              และลงทุนสูง

                    4. ต้องค�านึงถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ จากการน�าระบบการจัดการโรคพืชเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ
              ระบบการปลูกพืชว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่ ด้วยหลักการข้อนี้ท�าให้เกษตรกรต้องจัดท�าบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่าง

              มีระเบียบ และมีการประเมินผลเมื่อเสร็จกระบวนการ


        28           หลักการควบคุมโรคพืช
                Principles of Plant Disease Control
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40