Page 28 -
P. 28

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                      ความรุนแรงของการเกิดโรคพืชในอดีตสร้างความเสียหายให้กับชาวโลกเป็นอย่างมาก เช่น โรค late blight
                ของมันฝรั่ง เกิดจากเชื้อรา Phytophthora infestans ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1840 ในยุโรปทางตอนเหนือ
                คือประเทศเยอรมนี มีผลท�าให้ผู้คนเกิดการขาดอาหารเป็นจ�านวนมาก ท�าให้ชาวไอริชมากกว่า 1.5 ล้านคน

                ต้องอพยพไปอเมริกาเหนือและออสเตรเลีย เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของเกษตรกรที่หันมา
                ปลูกพืชชนิดเดียว (monoculture หรือ monocropping) ในพื้นที่ที่กว้างใหญ่ ท�าให้โรคเกิดการระบาดอย่างรุนแรง

                      หลังจากการค้นพบสาเหตุของโรคพืชในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ท�าให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์
                ระหว่างพืชและเชื้อสาเหตุโรคมากขึ้น สามารถพัฒนาวิธีการที่หลากหลายในการควบคุมโรคพืช หลักการทั่วไป
                เกี่ยวกับการควบคุมโรคพืช เพื่อช่วยในการจัดการกับปัญหาใหม่ ๆ เกี่ยวกับการเพาะปลูกพืชในทุกสภาพแวดล้อม

                มีการตีความเป็นครั้งแรกโดย H. H. Whetzel ในปี ค.ศ.1929 และมีการปรับแก้โดยผู้เขียนอีกหลายท่าน
                ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และได้รับการน�ามาใช้สอนให้กับนักโรคพืชทั่วโลก หลักการควบคุมโรคพืชนี้เป็นที่รู้จักกัน

                โดยทั่วไป และได้รับการเสนอโดยคณะกรรมการของ US National Academy of Sciences ในปี ค.ศ.1968
                ดังนี้



                หลักการควบคุมโรคพืช (Traditional Principles of Plant Disease Control)

                      1. การหลีกเลี่ยงโรค (Avoidance)
                      2. การกีดกันโรค (Exclusion)
                      3. การก�าจัดโรค (Eradication)

                      4. การป้องกันการเกิดโรค (Protection)
                      5. การต้านทานโรค (Resistance)

                      6. การรักษา (Therapy)


                      รายละเอียดของหลักการควบคุมโรคพืชดังนี้

                      1. การหลีกเลี่ยงโรค (Avoidance) เป็นการหลีกเลี่ยงการเกิดโรคโดยการเลือกช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม
                หรือเลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่มีเชื้อสาเหตุโรค หรือพื้นที่ที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออ�านวยต่อการติดเชื้อโรค เช่น

                        1.1 การเลือกช่วงเวลาในการปลูกพืช เป็นการหลีกเลี่ยงการเกิดโรคในช่วงเวลาที่มีพืชอาหารจ�านวน
                มากได้ เช่น การปลูกเลื่อนเวลาออกไป 1-2 สัปดาห์ การเลื่อนวันปลูกเป็นการท�าให้เชื้อสาเหตุโรคพืชขาดอาหาร
                และต้องต่อสู้กับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิและความชื้นที่ไม่เหมาะกับการเจริญเติบโต

                แพร่ขยายพันธุ์ของเชื้อสาเหตุโรค
                        1.2 การเลือกพันธุ์และสถานที่ปลูก ควรเลือกสถานที่ปลูกพืชที่ไม่มีการรายงานการระบาดของ

                โรคพืชที่ส�าคัญทางเศรษฐกิจกับพืชที่ก�าลังจะปลูก และเลือกเมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปราศจากเชื้อโรค มีการรับรอง
                เมล็ดพันธุ์ปลอดโรคจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ การเลือกพันธุ์พืชที่แข็งแรง ต้านทานโรค ทนทานกับสภาพแวดล้อม
                หรือเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเร็วสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อนการระบาดของโรค เป็นต้น

                        1.3 การท�าความสะอาดแปลงปลูกพืช วิธีการนี้เป็นการลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคพืชในแปลงปลูก
                ได้เป็นอย่างดี เช่น การเก็บเศษซากพืช วัชพืช และพืชอาศัยอื่นที่เป็น alternate host ออกจากแปลงปลูกและ

                ท�าลาย เป็นการหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของเชื้อสาเหตุโรคให้กับพืชปลูกได้เป็นอย่างดี




                                                                                                               21
                                                                                  บทที่ 2  หลักการควบคุมโรคพืช
                                                                                       และกลยุทธ ์ การจัดการโรคพืช
                                                                                           ผู ้ ช ่ วยศาสตราจารย ์  ดร.อนงค ์ นุช สาสนรักกิจ
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33