Page 14 -
P. 14
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภาพที่ 1.2 การเปลี่ยนแปลงระดับความอ่อนแอต่อโรคตามช่วงอายุของพืช
พืชอ่อนแอต่อโรคในช่วงระยะการเจริญเติบโต (I), พืชอ่อนแอต่อโรคหลังจากเจริญเติบโตเต็มที่ (II)
และพืชอ่อนแอต่อโรคในช่วงระยะต้นกล้าและหลังจากเจริญเติบโตเต็มที่ (III)
ที่มา: ดัดแปลงจาก Agrios (2005)
2. เชื้อสาเหตุโรคพืช
2.1 ระดับความรุนแรงของเชื้อสาเหตุโรค
เชื้อสาเหตุโรคสายพันธุ์รุนแรงสามารถเข้าท�าลายพืชและสร้างส่วนขยายพันธุ์ในปริมาณมากได้เร็ว
ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรคได้เร็วกว่าเชื้อสาเหตุโรคสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงน้อยกว่า
2.2 ปริมาณเชื้อสาเหตุโรค
หากในแปลงปลูกพืชมีส่วนของเชื้อสาเหตุโรค (inoculum) ในปริมาณมาก เช่น เซลล์แบคทีเรีย
สปอร์และ sclerotium ของเชื้อรา ไข่ของไส้เดือนฝอย ชิ้นส่วนของพืชที่มีไวรัสเข้าท�าลาย จะท�าให้มีโอกาส
เกิดการระบาดของโรคได้มาก
2.3 รูปแบบในการสร้างส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อสาเหตุโรค
เชื้อสาเหตุโรคบางประเภท เช่น เชื้อราส่วนใหญ่ แบคทีเรีย ไวรัส สามารถสร้างส่วนขยายพันธุ์
ได้เป็นจ�านวนมาก แต่เชื้อราบางชนิด ไส้เดือนฝอย และพืชที่เป็นปรสิต สร้างส่วนขยายพันธุ์ได้น้อยกว่า
เชื้อสาเหตุโรคบางชนิดสามารถสร้างส่วนขยายพันธุ์ได้หลายรอบในหนึ่งฤดูกาลเพาะปลูก ในแต่ละรอบจะมีปริมาณ
เชื้อสาเหตุโรคเพิ่มขึ้นหลายเท่า ท�าให้เกิดโรคแบบ polycyclic เช่น โรคราสนิมของพืชปีเดียวหรือพืชล้มลุก
โรคราน�้าค้าง โรคราแป้ง โรคใบจุด โรคใบไหม้ โรคไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะ เชื้อราสาเหตุโรคกลุ่ม polycyclic
จะมี primary inoculum เป็นโครงสร้างที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมในการอยู่ข้ามฤดู เช่น sclerotium,
pseudosclerotium, สปอร์แบบอาศัยเพศ (sexual spore), เส้นใย (mycelium) ซึ่งจะเข้าท�าลายพืช
ช่วงต้นฤดูปลูก (primary infection) หลังจากนั้นเชื้อจะสร้างสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual spore)
ซึ่งเป็น secondary inoculum จ�านวนมากบริเวณเนื้อเยื่อที่เป็นโรค สปอร์นี้จะท�าให้เกิด secondary
7
บทที่ 1 นิเวศวิทยาและการระบาดของโรคพืช
ดร.พัชรวิภา ใจจักรค�า