Page 17 -
P. 17
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หรือภายในประเทศ; เชื้อสาเหตุโรคที่แพร่กระจายผ่านเมล็ดและส่วนขยายพันธุ์พืช การระบาดของโรค
จะขึ้นอยู่กับการแพร่กระจายของเชื้อไปสู่พืชต้นใหม่; ส่วนเชื้อสาเหตุโรคที่อาศัยอยู่ในดินจะแพร่กระจายได้ยาก
เนื่องจากข้อจ�ากัดทางกายภาพของดิน จึงมักเกิดการระบาดในพื้นที่จ�ากัดและเป็นไปอย่างช้า ๆ แต่โรคที่เกิด
อาจมีความรุนแรงได้ อย่างไรก็ตามถ้าราดินสามารถสร้างสปอร์ที่แพร่กระจายทางอากาศ จะยิ่งท�าให้เกิดการ
ระบาดได้ไกลเป็นบริเวณกว้าง เช่น เชื้อรา Sclerotinia sclerotiorum อาศัยอยู่ในดิน ก่อโรคเน่าในผักและ
ไม้ดอกหลายชนิด อยู่ข้ามฤดูด้วย sclerotium และเส้นใย ช่วงฤดูปลูกจะสร้าง ascospore แพร่กระจาย
ผ่านลมไปได้ไกล ท�าให้เกิดโรคได้เป็นบริเวณกว้าง
3. สภาพแวดล้อม
ถึงแม้ว่าในพื้นที่เพาะปลูกจะมีพืชอาศัยที่อ่อนแอต่อโรคและเชื้อสาเหตุโรคสายพันธุ์รุนแรง แต่ก็ไม่ได้
ท�าให้เกิดการระบาดเสมอไป เพราะสภาพแวดล้อมเป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อการระบาด สภาพแวดล้อมมีผลต่อ
จ�านวน ระยะการเจริญ ลักษณะของเนื้อเยื่อ และความอ่อนแอของพืชอาศัย อีกทั้งยังมีผลต่อเชื้อสาเหตุโรค
ในเรื่องการอยู่รอด การเจริญเติบโต การสร้างส่วนขยายพันธุ์ ทิศทางและระยะทางในการแพร่กระจาย การงอก
ของสปอร์ และการเข้าท�าลายพืช นอกจากนี้สภาพแวดล้อมยังมีผลต่อจ�านวนและการเคลื่อนไหวของพาหะน�าโรค
ปัจจัยของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการระบาดของโรค ได้แก่ ความชื้น อุณหภูมิ และวิธีปฏิบัติของมนุษย์
ในการท�าการเกษตร
3.1 ความชื้น
สภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจเกิดจากฝน น�้าค้าง หรือความชื้นในอากาศสูง เป็น
ปัจจัยที่ส�าคัญในการระบาดของโรคต่าง ๆ เช่น โรคไหม้ โรคราน�้าค้าง โรคใบจุด โรคราสนิม โรคแอนแทรคโนส
โรคเน่าเละที่เกิดจากเชื้อราหรือแบคทีเรีย โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย ความชื้นท�าให้เนื้อเยื่อพืชอวบน�้าและ
อ่อนแอต่อโรคมากขึ้น นอกจากนี้ยังท�าให้เชื้อราสร้างสปอร์ และแบคทีเรียเพิ่มปริมาณมากขึ้น ความชื้นช่วย
ให้เชื้อราปลดปล่อยสปอร์สู่อากาศ กระตุ้นการงอกของสปอร์ ท�าให้แบคทีเรียไหลออกมาบนผิวพืชในรูป
bacterial ooze และยังช่วยในการเคลื่อนที่ของ zoospore แบคทีเรีย และไส้เดือนฝอย ซึ่งสภาพความชื้นสูง
ที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง จะส่งผลให้เกิดการระบาดของโรค ในทางตรงกันข้ามหากขาดความชื้นไปช่วงหนึ่ง จะท�าให้
การระบาดหยุดลง มีบางโรคที่แสดงอาการรุนแรงในสภาพอากาศแห้งมากกว่าอากาศชื้น แต่จะไม่เกิดการ
ระบาด เช่น โรคที่เกิดจาก Fusarium และ Streptomyces; ความชื้นส่งผลทางอ้อมต่อโรคที่เกิดจากไวรัสและ
ไฟโตพลาสมา เพราะเป็นผลที่เกิดกับพาหะน�าโรค โดยความชื้นอาจท�าให้การเคลื่อนไหวของพาหะประเภท
เชื้อราและไส้เดือนฝอยมากขึ้น แต่อาจท�าให้พาหะประเภทเพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น และแมลงชนิดอื่น
มีการเคลื่อนไหวลดลงโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน
3.2 อุณหภูมิ
อุณหภูมิที่สูงหรือต�่ากว่าสภาพที่เหมาะต่อการเจริญของพืชมีส่วนให้เกิดการระบาดของโรคได้ เพราะลด
ความต้านทานของพืชลง อุณหภูมิบางช่วงท�าให้พืชอยู่ในสภาวะเครียด ง่ายต่อการเกิดโรค อุณหภูมิมีผลต่อเชื้อ
สาเหตุโรคในเรื่องการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ การเข้าท�าลายพืช การสร้างสปอร์และการงอกของสปอร์เชื้อรา
10 หลักการควบคุมโรคพืช
Principles of Plant Disease Control