Page 22 -
P. 22
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. disease severity หรือความรุนแรงของโรค
หมายถึง สัดส่วนของพื้นที่ที่แสดงอาการโรคต่อพื้นที่ทั้งหมด หรือขนาดจริงของพื้นที่ที่แสดงอาการโรค
ตัวอย่างที่ 1: ใบพืชมีขนาดแผล 3 ตารางเซนติเมตร จากพื้นที่ใบทั้งหมด 60 ตารางเซนติเมตร
disease severity ในกรณีนี้เท่ากับ 5%
ตัวอย่างที่ 2: ใบพืชมีขนาดแผล 10.1 ตารางเซนติเมตร
disease severity ในกรณีนี้เท่ากับ 10.1 ตารางเซนติเมตร
การประเมิน disease severity จะค่อนข้างยากกว่า disease incidence นิยมใช้การประเมินด้วย
สายตา 4 รูปแบบ ดังนี้
2.1 ประเมินโดยตรง ผู้ประเมินประมาณความรุนแรงของโรคระหว่างค่า 0-100% โดยไม่ได้ใช้เครื่องมือ
ใดมาช่วยประเมิน มักใช้วิธีนี้กับโรคทางใบที่มีอาการแผลเซลล์ตาย (necrotic) หรือแผลซีดเหลือง (chlorotic)
2.2 ประเมินโดยตรงร่วมกับการใช้ disease diagram (standard area diagram) ผู้ประเมิน
ประมาณความรุนแรงของโรคระหว่างค่า 0-100% โดยใช้แผ่นภาพที่แสดงความรุนแรงของโรคในระดับต่าง ๆ
มาช่วยในการประเมิน ดังตัวอย่าง disease diagram ที่ใช้ประเมินโรคราแป้งขององุ่น (ภาพที่ 1.7)
ภาพที่ 1.7 ตัวอย่าง disease diagram ในการประเมินโรคราแป้งขององุ่น
ที่มา: Taksonyi et al. (2013)
2.3 ประเมินด้วย disease scale ผู้ประเมินประมาณความรุนแรงของโรคด้วยระดับตัวเลขที่เป็น
ตัวแทนของช่วงความรุนแรงระดับต่าง ๆ
ตัวอย่าง: ใบพืชมีขนาดแผลประมาณ 10% ของพื้นที่ใบ จะมีความรุนแรงที่ระดับ 3 โดยประเมินจาก
Horsfall-Barratt scale (ตารางที่ 1.1)
2.4 ประเมินด้วย ordinal rating scale การประเมินความรุนแรงของโรคบางอย่างท�าได้ยาก
โดยเฉพาะอาการที่เกิดทั่วทั้งต้น (systemic) จากการเข้าท�าลายของไวรัส และโรคที่เกิดกับระบบราก จึงนิยมใช้
ordinal rating scale ในการประเมิน โดยใช้ระดับตัวเลขเป็นตัวแทนความรุนแรงของอาการโรคที่เกิดขึ้น
ดังตัวอย่าง ordinal rating scale ที่ใช้ประเมินโรคเน่าระดับดินของต้นกล้า (damping-off) ที่เกิดจากเชื้อรา
Rhizoctonia solani (ตารางที่ 1.2)
15
บทที่ 1 นิเวศวิทยาและการระบาดของโรคพืช
ดร.พัชรวิภา ใจจักรค�า