Page 21 -
P. 21

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





              การพัฒนาการระบาดของโรค
                    การระบาดของโรคสามารถเกิดขึ้นได้ในโรงเรือน สวน หรือแปลงขนาดเล็ก แต่โดยมากการระบาดของ

              โรคจะหมายถึงเชื้อสาเหตุโรคแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและเกิดโรครุนแรงในพื้นที่ปลูกพืชเป็นบริเวณกว้าง
              เช่น แปลงขนาดใหญ่ พื้นที่ของประเทศหรือทวีป การระบาดของโรคมีหลายองค์ประกอบมาเกี่ยวข้อง

              องค์ประกอบที่หนึ่งคือมีการปลูกพืชชนิดเดียวกัน ซึ่งมีพันธุกรรมเหมือนกันเป็นบริเวณกว้าง องค์ประกอบที่สองคือ
              มีเชื้อสาเหตุโรคสายพันธุ์รุนแรงในพื้นที่ปลูก สององค์ประกอบนี้เกิดขึ้นพร้อมกันในหลายพื้นที่โดยทั่วไปเป็นปกติ
              ท�าให้พื้นที่เพาะปลูกเหล่านี้มีโรคเกิดบ้างเฉพาะแห่ง ความเสียหายของพืชไม่มาก ความรุนแรงของโรคแตก

              ต่างกันในแต่ละพื้นที่ แต่ไม่มีการระบาดของโรคเกิดขึ้น การระบาดของโรคจะเกิดขึ้นเมื่อมีองค์ประกอบที่สาม
              คือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ลม และแมลงพาหะ เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะที่พืชอยู่

              ในระยะอ่อนแอต่อโรค และเชื้อสาเหตุโรคอยู่ในช่วงการเพิ่มจ�านวนและแพร่กระจาย โดยลมหรือแมลงพาหะ
              จะพาเชื้อสาเหตุโรคไปยังพืชที่อยู่ในระยะอ่อนแอต่อโรค อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมจะท�าให้เชื้อสาเหตุ
              โรคงอกและเข้าท�าลายพืชได้ ถ้าสภาพอากาศยังคงเหมาะสมต่อไปเชื้อสาเหตุโรคจะเจริญเติบโตและสร้างส่วน

              ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ท�าให้มีส่วนขยายพันธุ์เป็นจ�านวนมาก ลมจะมีส่วนช่วยในการพัดพาส่วนขยายพันธุ์
              ไปยังพืช

                    การระบาดของโรคพืชที่รุนแรงนั้น สภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการเกิดโรคจะเกิดขึ้นซ�้า ๆ อย่างสม�่าเสมอ
              และเกิดขึ้นครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง กรณีของแปลงขนาดเล็กที่พืชไม่เคยเป็นโรครุนแรง แต่หากมีเชื้อ
              สาเหตุโรคชนิดใดชนิดหนึ่งอยู่ เชื้อดังกล่าวอาจใช้เวลาระยะหนึ่งในการเข้าท�าลายพืชหลายรอบจนกระทั่ง

              มีปริมาณเชื้อมากพอที่จะท�าให้พืชเกิดโรครุนแรงในแปลงนั้น อีกทั้งยังสามารถแพร่กระจายไปยังแปลงที่อยู่ไม่ไกล
              ซึ่งสามารถท�าให้เกิดการระบาดรุนแรงเป็นบริเวณกว้างได้ อย่างไรก็ตามโดยปกติสภาพอากาศที่เหมาะสม

              ต่อการเกิดโรคครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างมักไม่เกิดขึ้นบ่อย จึงไม่ค่อยมีการระบาดของโรคพืชที่รุนแรง
              เป็นบริเวณกว้าง แต่มักจะพบการระบาดเล็กน้อยในแปลงหรือภายในเขตพื้นที่ได้บ่อยกว่า



              การประเมินปริมาณของโรค

              1. disease incidence หรือเปอร์เซ็นต์การเกิดโรค

                    หมายถึง สัดส่วนของต้นพืช (หรือส่วนของพืช เช่น ใบ ล�าต้น กิ่ง ผล) ที่แสดงอาการโรคจากจ�านวนพืชหรือ
              ส่วนของพืชทั้งหมดที่ท�าการตรวจสอบ

                    ตัวอย่างที่ 1:  ในแปลงมีต้นข้าวโพด 100 ต้น เป็นโรคราน�้าค้าง 20 ต้น
                                disease incidence ในกรณีนี้เท่ากับ 20%
                    ตัวอย่างที่ 2:  น�าใบพืชมาตรวจสอบทั้งหมด 100 ใบ พบว่ามีอาการโรคใบจุด 50 ใบ

                                disease incidence ในกรณีนี้เท่ากับ 50%
                    การประเมิน disease incidence ท�าได้ง่ายและรวดเร็ว จึงเป็นที่นิยมใช้ในการศึกษาการระบาดของโรค

              เพื่อประเมินการแพร่กระจายของโรคในแปลงปลูก ในเขตพื้นที่ หรือในประเทศ










        14           หลักการควบคุมโรคพืช
                Principles of Plant Disease Control
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26