Page 19 -
P. 19
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รูปแบบการระบาดของโรค
ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ท�าให้เกิดการระบาดของโรคสามารถแสดงออกมาในรูปแบบ
การระบาด (pattern) และอัตราการระบาด (rate) ซึ่งรูปแบบการระบาดตามระยะเวลาสามารถแสดงในรูป
กราฟที่เรียกว่า disease-progress curve โดยจะแสดงพัฒนาการของการระบาด เช่น จ�านวนแผล ปริมาณ
เนื้อเยื่อที่เป็นโรค หรือจ�านวนต้นที่เป็นโรค ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จุดเริ่มต้นและรูปร่างของกราฟจะท�าให้ทราบถึง
ช่วงเวลาที่เชื้อสาเหตุโรคเริ่มปรากฏ ปริมาณของเชื้อสาเหตุโรค การเปลี่ยนแปลงระดับความต้านทานของพืช
อาศัยในช่วงการเจริญ สภาพอากาศที่การระบาดเกิดขึ้น และประสิทธิภาพของการควบคุมโรคด้วยวิธีต่าง ๆ
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ข้อมูล disease-progress curve ในการพยากรณ์โรคและการตัดสินใจเลือกวิธีการ
ควบคุมโรคที่ดีที่สุด ซึ่งเหมาะสมกับโรคที่เกิดในช่วงเวลานั้น
ต�าแหน่งพื้นที่เพาะปลูกและช่วงเวลาปลูกที่ต่างกันมีผลให้ disease-progress curve แตกต่างกันได้
เนื่องจากสภาพอากาศหรือพันธุ์พืชต่างกัน แต่โดยทั่วไปรูปแบบของกราฟจะมีลักษณะเฉพาะตามกลุ่มของโรค
แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
1. saturation-type curve (ภาพที่ 1.5A) เป็นลักษณะของกราฟแสดงการพัฒนาการระบาดของโรค
แบบ monocyclic เช่น โรคเหี่ยวเกิดจากเชื้อรา Fusarium หรือ Verticillium
2. sigmoid curve (ภาพที่ 1.5B) เป็นลักษณะของกราฟแสดงการพัฒนาการระบาดของโรคแบบ
polycyclic เช่น โรคใบไหม้ในมันฝรั่ง (potato late blight) เกิดจากเชื้อรา Phytophthora infestans
3. bimodal curve (ภาพที่ 1.5C) เป็นลักษณะของกราฟแสดงการพัฒนาการระบาดของโรคแบบ
bimodal polycyclic เชื้อสาเหตุโรคเข้าท�าลายพืชหลายส่วนในช่วงเวลาต่างกัน เช่น โรคเน่าของผลไม้เมล็ดแข็ง
(brown rot of stone fruit) เกิดจากเชื้อรา Monilinia เข้าท�าลายบริเวณดอกและผลของบ๊วย ท้อ เชอรี่
เป็นต้น
รูปแบบการระบาดตามระยะทาง (spatial pattern) สามารถแสดงในรูปกราฟที่เรียกว่า disease-
gradient curve โดยจะแสดงพัฒนาการของการระบาด เช่น จ�านวนแผล ปริมาณเนื้อเยื่อที่เป็นโรค หรือจ�านวน
ต้นที่เป็นโรค ในช่วงระยะทางหนึ่ง ซึ่งการแพร่กระจายของเชื้อสาเหตุโรคเป็นปัจจัยส�าคัญที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบ
การระบาดตามระยะทาง โดยทั่วไปบริเวณที่ใกล้แหล่งของเชื้อสาเหตุโรค (source of inoculum) จะมีปริมาณ
ของโรคมาก และจะลดลงตามระยะทางที่ห่างจากแหล่งของเชื้อสาเหตุโรค ท�าให้ disease-gradient curve
ส่วนมากมีลักษณะคล้ายกัน โดยจ�านวนต้นพืชที่เป็นโรคและความรุนแรงของโรคจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อห่าง
จากแหล่งของเชื้อสาเหตุโรคในช่วงระยะใกล้ แต่ในช่วงระยะทางที่ไกลจากแหล่งของเชื้อสาเหตุโรคออกไป
จ�านวนต้นพืชที่เป็นโรคและความรุนแรงของโรคจะค่อย ๆ ลดลง (ภาพที่ 1.6)
12 หลักการควบคุมโรคพืช
Principles of Plant Disease Control