Page 15 -
P. 15

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





              infection และเกิดเนื้อเยื่อที่เป็นโรคเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นบริเวณที่เชื้อจะสร้าง secondary inoculum ใหม่ที่ท�าให้
              เกิด secondary infection รอบใหม่ กระบวนการสร้าง secondary inoculum และการเกิด secondary
              infection สามารถเกิดได้หลายรอบในฤดูปลูก ท�าให้มีเชื้อสาเหตุโรคปริมาณมาก อาจมีโอกาสเกิดการระบาด

              รุนแรงได้ ปัจจัยที่ส�าคัญในการเกิดโรคแบบ polycyclic คือจ�านวนรอบในการเข้าท�าลายพืช (infection cycle)
              ยิ่งจ�านวนรอบมาก พืชก็จะมีโอกาสเกิดโรคได้มาก ดังนั้นการจัดการโรคแบบ polycyclic จะเน้นในเรื่อง

              การลดอัตราการเข้าท�าลายพืช (infection rate) เช่น การควบคุมโรคโดยใช้สารเคมีหรือพันธุ์ต้านทานแบบ
              horizontal resistance (ภาพที่ 1.3)
                    โรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอยส่วนใหญ่ โรคราสนิมในพืชยืนต้น โรคราเขม่าด�า และโรคที่เชื้อสาเหตุ

              อยู่ในดิน (soilborne disease) เช่น โรครากเน่า โรคเหี่ยว เชื้อสาเหตุโรคเหล่านี้สร้างส่วนขยายพันธุ์ได้ 1 รอบ
              (มากสุดไม่เกิน 4 รอบ) ในหนึ่งฤดูกาลเพาะปลูก ท�าให้เกิดโรคแบบ monocyclic ในกรณีของเชื้อราสาเหตุ

              โรครากเน่าและโรคเหี่ยวจะอยู่ข้ามฤดูด้วยสปอร์ในเศษซากพืชหรือในดิน ซึ่งส่วนของเชื้อที่อยู่ข้ามฤดูจะเป็น
              primary inoculum ที่เข้าท�าลายพืชในช่วงต้นฤดูปลูก (primary infection) พอปลายฤดูปลูกเชื้อจะสร้าง
              สปอร์เพื่ออยู่ข้ามฤดูและเป็น primary inoculum ที่จะเข้าท�าลายพืชในการปลูกรอบใหม่ ตลอดฤดูกาล

              เพาะปลูกเชื้อจะสร้างเฉพาะ primary inoculum ไม่สร้าง secondary inoculum จึงไม่มี secondary
              infection อย่างไรก็ตามช่วงปลายฤดูปลูกจะมีปริมาณเชื้อมากกว่าช่วงต้นฤดูปลูก ดังนั้นจึงมีปริมาณเชื้อ

              เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี เชื้อสาเหตุโรคกลุ่ม monocyclic สร้างส่วนขยายพันธุ์และแพร่กระจายได้น้อยกว่า
              เชื้อสาเหตุโรคกลุ่ม polycyclic จึงท�าให้การระบาดของโรค monocyclic เกิดขึ้นได้ช้ากว่า การจัดการโรคแบบ
              monocyclic ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคเริ่มต้น (primary inoculum) ที่ท�าให้

              เกิด primary infection เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน การฆ่าเชื้อในดิน การท�าลายพืชอาศัยสลับ (alternate host)
              (ภาพที่ 1.3)

                    การพัฒนาของโรคบางอย่างใช้เวลามากกว่า 1 ปี ท�าให้เกิดโรคแบบ polyetic ซึ่งเกิดจากเชื้อสาเหตุ
              โรคต้องมีการสะสมปริมาณในแต่ละปี เพื่อให้มากพอที่จะท�าให้เกิดโรค หรือเชื้อสาเหตุโรคมีวงจรการสร้าง
              ส่วนขยายพันธุ์ใช้เวลานานกว่า 1 ปี เช่น โรคราสนิมของซีดาร์-แอปเปิ้ลเกิดจากเชื้อรา Gymnosporangium

              juniperi-virginianae ใช้เวลา 2 ปี, โรคราสนิมของไพน์เกิดจากเชื้อรา Cronartium ribicola ใช้เวลา 3-6 ปี,
              โรคที่เกิดจาก dwarf mistletoe (Arceuthobium spp.) ซึ่งเป็นพืชปรสิตใช้เวลา 5–6 ปี การระบาดของโรค

              ลักษณะนี้จึงเป็นไปอย่างช้า ๆ แต่จะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากเชื้อสาเหตุโรคจะสร้างส่วนขยายพันธุ์
              เพิ่มมากขึ้นทุกปี ท�าให้เกิดการเข้าท�าลายอย่างต่อเนื่อง (ภาพที่ 1.4)



                    2.4 นิเวศวิทยาของเชื้อสาเหตุโรค
                    เชื้อสาเหตุโรคบางประเภทสร้างส่วนขยายพันธุ์บริเวณผิวของพืชอาศัย ได้แก่ สปอร์ของเชื้อราส่วนใหญ่

              และเมล็ดของพืชที่เป็นปรสิต ท�าให้สามารถแพร่กระจายได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการระบาดได้มาก;
              เชื้อสาเหตุโรคบางประเภทสืบพันธุ์ภายในพืชอาศัย ได้แก่ เชื้อราและแบคทีเรียที่ก่อโรคเหี่ยว ไฟโตพลาสมา
              ไวรัส และโปรโตซัว การแพร่กระจายของเชื้อต้องอาศัยพาหะน�าโรค ซึ่งจะเกิดการระบาดของโรคได้ก็ต่อเมื่อ

              มีพาหะเป็นจ�านวนมากและเคลื่อนที่ไปมาระหว่างพืชอาศัยอยู่ตลอดเวลา; เชื้อสาเหตุโรคที่อาศัยอยู่ในดิน ได้แก่
              เชื้อรา แบคทีเรีย และไส้เดือนฝอยในดิน จะสร้างส่วนขยายพันธุ์บริเวณเนื้อเยื่อพืชเป็นโรคที่อยู่ในดิน การแพร่

              กระจายของดินจะเป็นไปได้ช้า ท�าให้มีโอกาสเกิดการระบาดรุนแรงได้น้อย


         8           หลักการควบคุมโรคพืช
                Principles of Plant Disease Control
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20