Page 11 -
P. 11

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





              ไส้เดือนฝอย
                    ไส้เดือนฝอยสาเหตุโรคพืชเป็น obligate parasite แต่มีช่วงหนึ่งของชีวิตที่อาศัยอยู่ในดิน สามารถ

              พบระยะไข่ ระยะตัวอ่อน และไส้เดือนฝอยเพศผู้ในดิน ปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนที่และการอยู่รอดของไส้เดือน
              ฝอยในดิน ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น และการระบายอากาศ ในดินทั่วไปไส้เดือนฝอยมีจ�านวนมากที่ความลึก

              15-30 เซนติเมตร ส่วนในดินเพาะปลูกพืชไส้เดือนฝอยมีการกระจายตัวไม่สม�่าเสมอ พบมากบริเวณรอบรากพืช
              อาศัยพันธุ์อ่อนแอที่ความลึกของดิน 30-150 เซนติเมตรหรือลึกกว่านี้ เนื่องจากบริเวณรากพืชมีอาหาร
              เพียงพอ ท�าให้ไส้เดือนฝอยขยายพันธุ์ได้เร็ว และพืชปล่อยสารบางอย่างที่ดึงดูดไส้เดือนฝอย ซึ่งสารนี้สามารถ

              กระตุ้นการฟักไข่ของไส้เดือนฝอยบางชนิด ถึงแม้ว่าไข่ของไส้เดือนฝอยส่วนใหญ่ฟักออกจากไข่โดยไม่จ�าเป็น
              ต้องมีสารกระตุ้น โดยทั่วไปไส้เดือนฝอยอยู่ข้ามฤดูในดินในระยะไข่ อยู่ในรากพืชและเศษซากพืชในระยะไข่หรือ

              ระยะที่เป็นตัวไส้เดือนฝอย บางชนิดอยู่ข้ามฤดูในระยะตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัยในเมล็ดพืชและส่วนขยายพันธุ์พืช
              บางชนิดอยู่ข้ามฤดูในพืชที่เป็นโรค เช่น Aphelenchoides ไส้เดือนฝอยสามารถแพร่กระจายด้วยตัวเองอย่างช้า ๆ
              และเคลื่อนที่ในดินที่มีความชื้นได้เร็วกว่าในดินที่มีน�้าท่วมขัง ไส้เดือนฝอยแพร่กระจายระยะใกล้ผ่านเครื่องมือ

              ทางการเกษตร น�้าชลประทาน น�้าท่วม เท้าของสัตว์ นก และพายุฝุ่น และแพร่กระจายระยะไกลผ่านส่วน
              ขยายพันธุ์พืช ผลิตผลทางการเกษตร และพืชจากเรือนเพาะช�า ไส้เดือนฝอยบางชนิดก่อโรคพืชบริเวณส่วนที่อยู่

              เหนือดิน ซึ่งสามารถแพร่กระจายโดยน�้าฝนและการให้น�้าแบบพ่นฝอยหรือเหนือผิวดิน (overhead irrigation)
              บางชนิดสามารถเคลื่อนที่ขึ้นไปยังล�าต้นและใบของพืชได้เอง แล้วแพร่กระจายผ่านส่วนของพืชที่อยู่ติดกัน
              บางชนิดอาศัยแมลงพาหะในการแพร่กระจาย เช่น Bursaphelenchus



              การระบาดของโรคพืช

                    ค�าจ�ากัดความของค�าว่า “การระบาด (epidemic)” ในทางโรคพืชมีหลายความหมาย หมายถึง

              เชื้อสาเหตุโรคแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและเกิดโรครุนแรงในพื้นที่ปลูกพืชเป็นบริเวณกว้าง หรือหมายถึง
              การเพิ่มขึ้นของโรคในประชากรของพืช หรือหมายถึง การเปลี่ยนแปลงของโรคพืชไปตามช่วงเวลาและระยะทาง

              ส่วนค�าว่า “ระบาดวิทยา (epidemiology)” หมายถึง การศึกษาการระบาดของโรคและปัจจัยที่มีผลต่อ
              การระบาด ซึ่งเกี่ยวข้องกับประชากรของเชื้อสาเหตุโรคและประชากรของพืช รวมทั้งค�านึงถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
              ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต



              องค์ประกอบที่ท�าให้เกิดการระบาดของโรคพืช

                    การระบาดของโรคพืชเกิดขึ้นจากองค์ประกอบเดียวกันกับการเกิดโรคพืช ที่เรียกว่า “สามเหลี่ยมโรคพืช
              (disease triangle)” ได้แก่ องค์ประกอบที่หนึ่งคือพืชอาศัยอ่อนแอ องค์ประกอบที่สองคือเชื้อสาเหตุโรคมีความ

              รุนแรงในการก่อโรค และองค์ประกอบที่สามคือสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเกิดโรค แต่การระบาดของโรคพืช
              จะครอบคลุมเพิ่มอีก 2 องค์ประกอบ องค์ประกอบที่สี่คือเวลา โดยโรคพืชจะเกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาหนึ่ง และระยะเวลา

              ในการเกิดโรคจะมีผลต่อปริมาณของโรค ระยะเวลาและความถี่ที่เกิดสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค
              ช่วงเวลาที่มีพาหะน�าโรคปรากฏ ระยะเวลาที่เชื้อสาเหตุโรคเข้าท�าลายพืช เป็นต้น องค์ประกอบที่ห้าคือมนุษย์
              โดยมนุษย์สามารถเพิ่มหรือลดการระบาดของโรคพืชได้ มนุษย์เป็นผู้เลือกชนิดพืชที่ปลูกในแต่ละพื้นที่และเลือก

              พันธุ์พืช ซึ่งเป็นการเลือกระดับความต้านทานโรคของพืช ก�าหนดจ�านวนพืชที่ปลูก ความหนาแน่นในการปลูก



         4           หลักการควบคุมโรคพืช
                Principles of Plant Disease Control
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16