Page 12 -
P. 12
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และช่วงเวลาที่ปลูก มนุษย์เป็นผู้เลือกวิธีในการท�าการเกษตร เลือกควบคุมโรคพืชด้วยวิธีต่าง ๆ ซึ่งมีผลต่อ
ปริมาณเชื้อสาเหตุโรค รวมทั้งจัดการสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเกิดโรค เช่น ปลูกพืชหรือเก็บเกี่ยวเร็วขึ้น
หรือช้าลงกว่าช่วงเวลาปกติ เพิ่มระยะระหว่างแปลงปลูก ควบคุมความชื้นในโรงเก็บ (ภาพที่ 1.1)
ภาพที่ 1.1 องค์ประกอบส�าคัญที่ท�าให้เกิดการระบาดของโรคพืช
ที่มา: Agrios (2005)
ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการระบาดของโรคพืช
1. พืชอาศัย
1.1 ระดับความต้านทานหรือความอ่อนแอทางพันธุกรรมของพืชอาศัย
พืชอาศัยที่มีความต้านทานแบบ vertical resistance จะมีความต้านทานต่อเชื้อสาเหตุโรคบางสายพันธุ์
อย่างสมบูรณ์ ท�าให้ไม่สามารถเข้าท�าลายได้ จึงไม่มีการระบาดของโรคเกิดขึ้น หากพืชอาศัยมีความต้านทาน
แบบ horizontal resistance จะมีความต้านทานต่อเชื้อสาเหตุโรคหลายสายพันธุ์ แต่เชื้อสาเหตุโรคสามารถ
เข้าท�าลายได้ในระดับหนึ่ง การพัฒนาของโรคและการระบาดจะขึ้นอยู่กับระดับความต้านทานของพืชและ
สภาพแวดล้อม ส่วนพืชอาศัยที่ไม่มียีนต้านทานโรคจะอ่อนแอต่อโรค ท�าให้เกิดการเข้าท�าลายจากเชื้อสาเหตุ
โรคได้ง่าย หากเชื้อสาเหตุโรคมีความรุนแรงและสภาพแวดล้อมเหมาะสมในการเกิดโรค จะมีผลให้พืชที่อ่อนแอ
ต่อโรคเกิดโรคระบาดได้อย่างรวดเร็ว
1.2 ระดับความเหมือนของพันธุกรรมพืชอาศัย
การปลูกพืชที่มีพันธุกรรมเหมือนกันจะมีโอกาสเกิดโรคระบาดมากกว่าการปลูกพืชที่มีพันธุกรรมหลากหลาย
จากเหตุผลดังกล่าวท�าให้การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศโดยใช้ส่วนขยายพันธุ์พืชจะมีอัตราการระบาดของ
โรคค่อนข้างสูง พืชที่ผสมพันธุ์ในต้นเดียวกันจะมีอัตราการระบาดของโรคปานกลาง ส่วนพืชที่ผสมพันธุ์ข้ามต้น
จะมีอัตราการระบาดของโรคต�่า อัตราการระบาดของโรคเป็นไปได้ช้าในสภาพธรรมชาติที่มีพืชหลากหลาย
ชนิดเจริญเติบโตปะปนกัน แต่หากมีการปลูกพืชในพื้นที่ขนาดใหญ่เพียงพันธุ์เดียวโดยเฉพาะพันธุ์ต้านทาน
จะท�าให้เชื้อสาเหตุโรคมีโอกาสพัฒนา race ใหม่มากขึ้น และท�าให้เกิดการระบาดได้ ดังนั้นจึงไม่ควรปลูกพืช
5
บทที่ 1 นิเวศวิทยาและการระบาดของโรคพืช
ดร.พัชรวิภา ใจจักรค�า