Page 16 -
P. 16

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



























                ภาพที่ 1.3 วงจรของการเกิดโรคแบบ monocyclic (ซ้าย) และ polycyclic (ขวา)
                ที่มา: Agrios (2005)



























                ภาพที่ 1.4 การระบาดของโรคแบบ polyetic เกิดจากเชื้อราสาเหตุโรคในดินเป็นระยะเวลา 4 ปี
                ที่มา: Agrios (2005)



                      2.5 การแพร่กระจายของเชื้อสาเหตุโรค
                      เชื้อราส่วนใหญ่จะปล่อยสปอร์สู่อากาศ เช่น เชื้อราสนิม เชื้อราน�้าค้าง เชื้อราก่อโรคใบจุด สปอร์เคลื่อนที่

                ด้วยกระแสลม ท�าให้แพร่กระจายได้ในระยะไกล มีโอกาสเกิดการระบาดรวดเร็วเป็นบริเวณกว้างได้มาก;
                รองลงมาคือโรคที่มีแมลงเป็นพาหะ ไวรัสมักแพร่กระจายผ่านแมลงพาหะ ได้แก่ เพลี้ยอ่อน (aphid) แมลง

                หวี่ขาว (whitefly) และแมลงชนิดอื่น ส่วนไฟโตพลาสมา และ fastidious bacteria แพร่กระจายผ่านเพลี้ย
                จักจั่น (leafhopper) เพลี้ยกระโดด (planthopper) หรือเพลี้ยไก่แจ้ (psyllid) เชื้อสาเหตุโรคบางชนิดแพร่
                กระจายผ่านตัวด้วง (beetle) เช่น เชื้อรา Ophiostoma novo-ulmi สาเหตุโรค Dutch elm disease,

                แบคทีเรีย Erwinia tracheiphila สาเหตุโรคเหี่ยวของพืชตระกูลแตง, ไส้เดือนฝอย Bursaphelenchus
                xylophilus สาเหตุโรคเหี่ยวของไพน์; เชื้อสาเหตุโรคที่แพร่กระจายผ่านฝน เช่น แบคทีเรียส่วนใหญ่,

                เชื้อรา Venturia inaequalis สาเหตุโรค apple scab, เชื้อราที่ก่อโรคแอนแทรคโนส (Diplocarpon,
                Elsinoe, Glomerella และ Gnomonia) มักจะเกิดการระบาดรุนแรงแต่จะเกิดในพื้นที่จ�ากัดภายในไร่ที่ปลูก


                                                                                                               9
                                                                               บทที่ 1  นิเวศวิทยาและการระบาดของโรคพืช
                                                                                                   ดร.พัชรวิภา ใจจักรค�า
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21