Page 18 -
P. 18
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การฟักออกจากไข่ของไส้เดือนฝอย เป็นต้น ถ้าอุณหภูมิอยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อกระบวนการข้างต้น เชื้อสาเหตุ
โรคกลุ่ม polycyclic จะมีวงจรชีวิตเกิดขึ้นได้เร็ว สามารถเข้าท�าลายพืชได้หลายรอบ และมีปริมาณเชื้อเป็น
จ�านวนมาก ท�าให้เกิดการระบาดรุนแรงได้
ความชื้นและอุณหภูมิจะต้องมีความเหมาะสมต่อการเกิดโรคพร้อมกันทั้งสองปัจจัย จึงจะท�าให้เกิดการ
พัฒนาของโรคและการระบาดของโรคได้
3.3 วิธีปฏิบัติของมนุษย์ในการท�าการเกษตร
วิธีการปฏิบัติของมนุษย์เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรคพืชทั้งทางตรงและทางอ้อม บางวิธีจะเพิ่ม
การระบาดของโรค แต่บางวิธีก็สามารถลดการระบาดของโรคได้ ดังนี้
3.3.1 การเลือกพื้นที่และการเตรียมพื้นที่ในการปลูก พื้นที่ลุ่มต�่าที่มีการระบายน�้าไม่ดี หากอยู่
ใกล้แปลงที่เป็นโรค จะมีโอกาสเกิดการระบาดของโรคได้มาก ดังนั้นการเลือกพื้นที่และการเตรียมพื้นที่ในการ
ปลูกจึงเป็นปัจจัยที่ส�าคัญต่อการระบาดของโรค
3.3.2 การเลือกส่วนขยายพันธุ์พืช เชื้อสาเหตุโรคที่ติดมากับส่วนขยายพันธุ์พืช ได้แก่ เมล็ดพันธุ์
ท่อนพันธุ์ และส่วนขยายพันธุ์อื่น ๆ สามารถเพิ่มปริมาณได้มากเนื่องจากเข้าสู่แปลงตั้งแต่ต้นฤดูปลูก ส่งผลให้มี
โอกาสเกิดการระบาดของโรคได้มาก ดังนั้นการใช้ส่วนขยายพันธุ์พืชที่ปลอดโรคหรือผ่านขั้นตอนการลดปริมาณ
เชื้อสาเหตุโรค เช่น การแช่เมล็ดพันธุ์ในน�้าร้อน จะช่วยลดโอกาสการระบาดของโรคได้
3.3.3 วิธีการปลูกพืช วิธีการปลูกพืชที่ท�าให้มีโอกาสเกิดโรคระบาดรุนแรง เช่น การปลูกพืช
เชิงเดี่ยว (monoculture) พันธุ์เดียวติดต่อกันเป็นเวลานานและปลูกเป็นบริเวณกว้างจ�านวนมาก การใส่ปุ๋ย
ไนโตรเจนในอัตราสูง การเพาะปลูกแบบไม่ไถพรวน (no-till culture) การปลูกพืชหนาแน่นเกินไป การให้น�้า
แบบพ่นฝอยหรือเหนือผิวดิน (overhead irrigation) การใช้สารก�าจัดวัชพืชจนท�าให้เนื้อเยื่อพืชเสียหาย
การจัดการแปลงไม่สะอาดท�าให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค
3.3.4 วิธีการควบคุมโรคพืช วิธีการที่มนุษย์น�ามาใช้ควบคุมโรคพืช ได้แก่ การใช้สารเคมี การเขตกรรม
(เช่น การจัดการแปลงให้สะอาด การปลูกพืชหมุนเวียน) ชีววิธี และวิธีการอื่น ๆ จะช่วยลดโอกาสการระบาด
ของโรคได้ อย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวบางวิธี เช่น การใช้สารเคมีหรือใช้พันธุ์ต้านทานชนิดใดชนิดหนึ่งอย่าง
ต่อเนื่อง อาจท�าให้เกิดเชื้อสาเหตุโรคสายพันธุ์รุนแรงที่มีความต้านทานต่อสารเคมีชนิดนั้นหรือสามารถเข้า
ท�าลายพันธุ์ต้านทานนั้นได้ ซึ่งจะท�าให้เกิดการระบาดของโรค
3.3.5 การน�าเชื้อสาเหตุโรคใหม่เข้ามาในพื้นที่ ในปัจจุบันการเดินทางระหว่างประเทศท�าได้ง่าย
และรวดเร็ว จึงเป็นผลให้มีการขนส่งเมล็ดพันธุ์ ส่วนขยายพันธุ์ต่าง ๆ ของพืช และสินค้าทางการเกษตรเพิ่ม
มากขึ้นด้วย ท�าให้เพิ่มโอกาสในการน�าเชื้อสาเหตุโรคใหม่เข้าสู่พื้นที่ที่ยังไม่มีรายงานของเชื้อนั้นมาก่อน
ซึ่งอาจท�าให้เกิดโรคระบาดรุนแรงเพราะพืชยังไม่มีวิวัฒนาการความต้านทานต่อเชื้อดังกล่าว ดังกรณีการระบาด
ของโรคในประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น โรคไหม้ในเกาลัด (chestnut blight) เกิดจากเชื้อรา Cryphonectria
parasitica, โรค Dutch elm disease เกิดจากเชื้อรา Ophiostoma novo-ulmi, โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูล
ส้มเกิดจากแบคทีเรีย Xanthomonas citri subsp. citri
11
บทที่ 1 นิเวศวิทยาและการระบาดของโรคพืช
ดร.พัชรวิภา ใจจักรค�า