Page 32 -
P. 32

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                                           28


                       โดยที่ผลผลิตที่แจ้งเข้าร่วมโครงการไว้นั้น เกษตรกรสามารถนำไปขายในตลาดตามราคาที่ตนเองพึงพอใจ

               (หรือราคาตลาด) ดังนั้นการแทรกแซงตลาดรูปแบบประกัน รัฐจะยุติบทบาทการแทรกแซงไว้ที่การอุดหนุน

               เกษตรกรโดยไม่ต้องมีภาระในการจัดการข้าว ผลผลิตข้าวทั้งหมดนั้นจะออกสู่ตลาดด้วยกลไกการซื้อขายตามปกติ



                       จากเหตุผลดังกล่าว รัฐบาลจึงได้ริเริ่มโครงการประกันราคาข้าว โดยต้องการให้เกษตรกรทุกรายโดยเฉพาะ

               เกษตรกรรายย่อยได้รับประโยชน์จากโครงการอย่างเท่าเทียม อีกทั้งนโยบายดังกล่าวต้องการหลีกเลี่ยงการทำลาย

               กลไกตลาด ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทย และลดภาระของรัฐในด้านการจัดการข้าวที่ไม่จำเป็น

               รัฐบาลได้เริ่มโครงการนำร่องโดยการประกันราคาข้าวหอมมะลิในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ สุรินทร์ บุรีรัมย์

               มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี อุดรธานี นครราชสีมา และร้อยเอ็ด โดยมีการประกันราคาสูงกว่าราคารับจำนำ

               ประมาณตันละ 1,000 – 2,000 บาท และมีกำหนดปริมาณข้าวเข้าร่วมโครงการ 2 แสนตัน (กระทรวงเกษตรและ

               สหกรณ์, 2552)


                       เมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินโครงการรับจำนำปีสุดท้ายคือปี 2551/52 กับโครงการประกันรายได้ปี

               2552/53 พบว่าการรับจำนำสามารถรับข้าวเข้าสู่โครงการได้ 5.4 ล้านตัน จากปริมาณผลผลิตรวม 23.2 ล้านตัน

               สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ 575,000 คน โดยตั้งราคารับจำนำข้าวอยู่ระหว่างตันละ 9,000 – 15,000 บาท ใช้

               ในการดำเนินการรวม 6,589 ล้านบาท และขาดทุนจากการระบายข้าวทั้งสิ้น 12,000 ล้านบาท



                       ขณะที่การประกันรายได้ ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรได้มากกว่าถึง 3.23 ล้านราย มีปริมาณผลผลิตที่

               สามารถใช้สิทธิ์ได้มากกว่าถึง 20 ล้านตัน โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการน้อยกว่าเพียง 1,673 ล้านบาท แต่

               รัฐบาลต้องจ่ายเงินชดเชยเกษตรกรถึง 25,000 ล้านบาท ทำให้ภาพรวมของโครงการประกันรายได้นั้นใช้

               งบประมาณ 26,673 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าโครงการรับจำนำข้าวที่ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 18,589 ล้านบาท


                       ทั้งนี้โครงการประกันราคาข้าว ยังคงมีปัญหาทั้งในระยะสั้น เช่น การขึ้นทะเบียนเกษตรกร ด้านราคา

               อ้างอิงซึ่งเปิดโอกาสให้นายทุนกดราคาเกษตรกร เป็นต้น และปัญหาในระยะยาว เช่น หากมีการกำหนดราคา

               ประกันสูง จะนำไปสู่การบิดเบียนตลาดข้าวในที่สุด เป็นต้น อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญของโครงการประกันราคาข้าว

               คือ สามารถลดปัญหาด้านการทุจริตได้ สามารถลดผลกระทบต่อการส่งออกจากปัญหาราคารับจำนำสูงจนบิด


               เบียนกดไลตลาด และสามารถลดปัญหาภาระในการระบายข้าวของรัฐบาล รัฐบาลประชาธิปัตย์จึงมีความพยายาม
               ผลักดันการดำเนินโครงการต่อไป
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37