Page 34 -
P. 34

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                                           30


               การลดราคารับจำนำ นั้นส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเกษตรกร ซึ่งมีรายได้จากการจำนำข้าวเปลือกลดลงกว่า

               3,000 บาท/ตัน นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของโครงการอย่างกะทันหันอาจส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกลดลง

               อย่างรวดเร็ว อาจทำให้เกษตรกรที่ไม่เข้าร่วมโครงการขาดทุนจากการขายข้าวเปลือกได้



                       นอกเหนือจากกลไกการรับซื้อเพื่อให้เงินอุดหนุนแก่เกษตรกรแล้ว สิ่งสำคัญของโครงการรับจำนำคือ

               ความสามารถในการจัดเก็บรักษา และความสามารถในการระบายข้าวของรัฐบาล เนื่องจากรัฐจำเป็นต้องจัดการ

               ข้าวในปริมาณเทียบเท่าผลผลิตส่วนใหญ่ในประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาลและเกิดความเสี่ยงต่อการ

               ทุจริตในระบบ นอกจากนี้ความสามารถในการระยายข้าวยังเป็นประเด็นที่สำคัญของโครงการรับจำนำข้าว

               เนื่องจากรายได้จากการระบายข้าวเป็นตัวกำหนดว่ารัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณสุทธิในโครงการนี้ แต่ละปีเป็น

               จำนวนเท่าไหร่


                       อย่างไรก็ตาม หลังจากการประกาศลดราคารับจำนำเพียง 13 วัน ในวันที่ 2 กรกฏาคม 2556 รัฐบาลได้มี

               มติให้ปรับราคารับจำนำข้าวกลับคืนมาที่ 15,000 บาทต่อตัน แต่ยังคงจำกัดวงเงินรับจำนำที่ 500,000 บาทต่อ

               ครัวเรือนเช่นเดิม จึงมาใช้การรับจำนำข้าวทุกเมล็ดอย่างที่หาเสียงไว้อีกต่อไป



               3.5 โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2559/60


                       รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการค้าข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านธนาคารพาณิชย์หรือ

               ธนาคารของรัฐที่ผู้ประกอบการค้าข้าวเป็นลูกค้าอยู่ ตามมูลค่าข้าวเปลือกที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เก็บสต็อกไว้ ตาม

               ระยะเวลาที่เก็บสต็อกไว้ 60 – 180 วัน นับตั้งแต่วันที่รับซื้อ (เบิกจ่ายเงินหรือออกตั๋วสัญญาใช้เงิน) โดยชดเชย

               อัตราดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการในอัตราร้อยละ 3 เพื่อดูดซับผลผลิตในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก เป้าหมาย

               5 ล้านตันข้าวเปลือก เป็นระยะเวลา 2 – 6 เดือน


                       โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก มีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาระอัตรา


               ดอกเบี้ยและเสริมมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าว ทำให้ผู้ประกอบการสามารถรับซื้อข้าวเปลือกในช่วงต้นฤดู

               ที่ผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากจากเกษตรกรได้มากขึ้น แล้วนำมาเก็บสต็อกไว้ในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ทำให้

               ราคาตลาดข้าวภายในประเทศมีเสถียรภาพ โดยมีการกำหนดเป้าหมายดูดซับผลผลิตข้าวเปลือกในช่วงที่ผลผลิต

               ออกสู่ตลาดมาก เป็นจำนวน 5 ล้านตันข้าวเปลือก เป็นระยะเวลา 2- 6 เดือน
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39