Page 30 -
P. 30
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
26
- โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2544/45 เพิ่มเป้าหมายการรับจำนำจาก 2.5 ล้านตัน เป็น 8.7
ล้านตัน ด้วยวงเวินกู้ร้อยละ 100 ของราคาเป้าหมายรับจำนำ และยังมีการเพิ่มจำนวนรับจำนำอย่าง
ต่อเนื่องถึง 9 ล้านตัน ในปีการผลิต 2547/48 และ 2548/49
- กำหนดราคารับจำนำสูงกว่าราคาตลาดถึงร้อยละ 30 ซึ่งทำให้วัตถุประสงค์ของการจำนำข้าว ถูกเปลี่ยน
จากการพยุงราคาโดยการควบคุมอุปทานข้าวเปลือกในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว เป็นการกำหนดราคาประกับ
ข้าวเปลือกขั้นต่ำ โดยรัฐทำหน้าที่รับซื้อข้าวเปลือกส่วนเกินเก็บไว้ในโกดัง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงมาตรการ
ดังกล่าว ส่งผลให้เกษตรกรนำข้าวเปลือกมาเข้าร่วมโครงการมากขึ้น โดยในปีการผลิต 2547/48 พบว่ามี
ปริมาณรับจำนำมากถึง 1 ใน 3 ของปริมาณข้าวเปลือกทั้งประเทศส่งผลให้รัฐมีภาระการคลังเพิ่มขึ้นอย่าง
มหาศาล
- รัฐบาลมีความพยายามที่จะผูกขาดการส่งออกข้าว โดยให้การประมูลข้าวของรัฐตกอยู่ในมือของผู้ส่งออก
เพียงรายเดียว
แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลไทยรักไทย จะได้รับความนิยมจากเกษตรกรและมี
ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก แต่โครงการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบเชิงลบเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่
รัฐบาลต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาข้าวเปลือกจำนวนมาก นอกจากนี้ยังทำให้ความสามารถในการ
ส่งออกข้าวของผู้ส่งออกข้าวลดลง และข้าวในประเทศไหลเข้าคลังของรัฐบาลโดยเกษตรกรไม่มาไถ่ถอนมากขึ้น ซึ่ง
การที่ข้าวในคลังของรัฐบาลมีมากนั้น จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อการส่งออก เช่น โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนา
ปรังปี 2547 มีการกำหนดราคารับจำนำสูงกว่าตลาด โดยมีข้าวเข้าโครงการ 5.2 ล้านตัน จากเป้าหมายรับจำนำ 9
ล้านตัน แต่ยอดส่งออกข้าวไทยกลับลดลงจาก 10.11 ล้านตัน เหลือเพียง 7.28 ล้านตัน ขณะที่ยอดการส่งออกข้าว
ของเวียดนามกลับเพิ่มมากขึ้นจาก 4.30 ล้านตัน เป็น 5.17 ล้านตัน
ในปี พ.ศ.2549 ซึ่งเป็นปีที่เกิดการรัฐประหาร โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2549/50 ได้
กำหนดปริมาณรับจำนำ 9 ล้านตัน แต่มีข้าวเปลือกเข้ารับจำนำเพียงแค่ 1.8 ล้านตัน และมียอดการส่งออกเพิ่มขึ้น
จาก 7.36 เป็น 9.50 ล้านตัน โดยการส่งออกของเวียดนามนั้นลดลงจาก 5.20 เหลือ 4.70 ล้านตัน (สมาคมผู้
ส่งออกข้าวไทย, 2555)
3.3 โครงการประกันราคาข้าว พ.ศ. 2552
ในช่วงปี พ.ศ. 2552 นี้เป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์
โดยแม้ว่าในระยะแรก รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ยังคงดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวเปลือกต่อจากรัฐบาลก่อนหน้า
แต่จากผลกระทบมากมายของโครงการรับจำนำข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูญเสียงบประมาณจำนวนมาก โดย