Page 25 -
P. 25

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                                           21


               ยืดหยุ่นของการส่งผ่านราคาของตลาดข้าวเหนียวในประเทศทั้งตลาดระดับท้องถิ่นในภูมิภาคและตลาดขายส่ง

               กรุงเทพฯ จะพบว่าราคาข้าวเหนียวของตลาดในประเทศจะมีการส่งผ่านราคาอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า หรือ

               กล่าวได้ว่าตลาดข้าวเหนียวในระดับส่งออกมีโครงสร้างการแข่งขันน้อยกว่าตลาดในประเทศ จึงเป็นเหตุให้ผู้ส่งออก

               สามารถดูดซับส่วนเหลื่อมการตลาดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาได้มากกว่าพ่อค้าข้าวเหนียวในตลาด

               ภายในประเทศ อย่างไรก็ตามการศึกษาเกี่ยวกับการส่งผ่านราคาข้าวเหล่านี้เป็นเพียงแค่การประมาณค่าความ

               ยืดหยุ่นของการส่งผ่านราคาเท่านั้น ไม่ได้วิเคราะห์การปรับตัวในระยะสั้นเพื่อกลับเข้าสู่ดุลยภาพ และไม่ได้


               วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในการส่งผ่านราคาที่ไม่สมมาตรแต่อย่างใด


                       ถึงแม้ว่า Wong (1978) จะไม่ได้ศึกษาการส่งผ่านราคาข้าวในตลาดโลกมายังราคาข้าวภายในประเทศไทย

               โดยตรงโดยใช้แบบจำลอง ECM แต่มีการประมาณค่าระบบสมการเกี่ยวเนื่องเชิงพลวัต (dynamic simultaneous

               equation model) อันประกอบด้วย สมการอุปสงค์และอุปทานข้าวภายในประเทศไทยและอุปสงค์ต่อข้าวไทยใน

               ตลาดโลก และมีสมการกลไกการส่งผ่านระหว่างราคาข้าวในประเทศและราคาข้าวส่งออกของไทยอีกด้วย เพื่อ

               ประเมินผลกระทบของมาตราการเก็บค่าพรีเมียมข้าวส่งออกต่อการค้าข้าวและสวัสดิการของเกษตรกร ผลการ

               ประมาณพบว่าค่าความยืดหยุ่นของการส่งผ่านจากราคาข้าวส่งออกมายังราคาข้าวในประเทศเท่ากับ 0.4477 และ

               มีข้อสรุปที่สำคัญว่าถึงแม้การเก็บค่าพรีเมียมส่งออกข้าวจะทำให้ราคาข้าวส่งออกของไทยเพิ่มสูงขึ้น แต่จะทำให้

               ข้าวภายในประเทศมีราคาถูก ซึ่งไม่เป็นธรรมกับเกษตรที่ต้องแบกรับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าว และอาจส่งผล

               ต่อแรงจูงใจในการปรับปรุงการผลิตข้าวซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบการผลิตและค้าข้าวของประเทศไทยในระยะยาว



                       มีการวิเคราะห์ถึงความไม่สมมาตรในการส่งผ่านราคาข้าวในตลาดโลก คือ Chen and Saghaian (2016)

               ศึกษาความเชื่อมโยงและกลไกการส่งผ่านราคาข้าวในตลาดโลกด้วยวิธี threshold vector error correction

               model (TVECM) พบว่าราคาข้าวของไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนามมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว

               ระหว่างกันสะท้อนถึงสภาวะการแข่งขันในตลาดโลก เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างราคาข้าวไทยและราคาข้าว

               เวียดนามพบว่ามีความไม่สมมาตรในความความเร็วของการปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพ ในช่วงที่ข้าวเวียดนามมีราคา

               ค่อนข้างต่ำ ราคาข้าวของเวียดนามจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเพื่อกลับสู่ดุลยภาพระยะยาวได้ค่อนข้างช้า (สัมประสิทธิ์การ

               ปรับตัวเท่ากับ -0.16) เมื่อเทียบกับในช่วงที่ราคาข้าวเวียดนามค่อนข้างสูงซึ่งสามารถปรับตัวลดลงเพื่อกลับสู่ดุลย

               ภาพได้รวดเร็วกว่า (สัมประสิทธิ์การปรับตัวเท่ากับ -0.50) ในทำนองเดียวกันเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ในระยะ

               ยาวระหว่างราคาข้าวเวียดนามกับราคาข้าวสหรัฐอเมริกาพบว่าราคาข้าวเวียดนามจะปรับตัวลดลงเพื่อเข้าสู่ดุลย
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30