Page 28 -
P. 28

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                                           24


               จะได้รับเงินกู้จำนวนร้อยละ 80 ของมูลค่าข้าวเปลือกที่นำมาจำนำ ซึ่งเป็นมูลค่าที่ต่ำกว่าราคาตลาด  แต่ไม่เกินราย

               ละ 100,000 บาท โดย ธ.ก.ส. กำหนดดอกเบี้ยร้อยละ 13 ต่อปี ทั้งนี้เกษตรกรสามารถเลือกไถ่ถอนข้าวที่จำนำไว้

               ก่อนกำหนดได้ แต่หากเกษตรกรเลือกที่จะไม่ไถ่ถอนข้าวเปลือกภายในกำหนด ธ.ก.ส. จะนำข้าวเปลือกที่หลุดจำ

               นำไปจำหน่ายเพื่อชำระหนี้ต่อไป



                       จากรูปแบบการดำเนินงานดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ธ.ก.ส. เป็นผู้รับความเสี่ยงส่วนใหญ่ของโครงการ ในขณะ

               ที่เกษตรกรเป็นผู้ได้รับประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ราคาข้าวตกต่ำ เกษตรกรที่นำข้าวเปลือกเข้า

               ร่วมโครงการย่อมมีแนวโน้มที่จะไม่ใช้สิทธิ์ไถ่ถอนข้าวคืน แต่จะปล่อยข้าวเปลือกและหนี้ไว้เป็นภาระของ ธ.ก.ส.

               ขณะเดียวกันหากราคาข้าวในตลาดเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรย่อมมีแนวโน้มในการใช้สิทธิ์ไถ่ถอนข้าวคืน โครงการ

               ดังกล่าวจังไม่ใช่โครงการหลักในการสร้างผลกำไรให้กับ ธ.ก.ส.


                       โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2524/25 นี้ ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยมีเกษตรกรเข้า

               ร่วมโครงการเพียง 69 ราย มีการจำนำข้าวรวมเพียง 410 ตัน ทั้งนี้ เนื่องจากเกษตรกรยังคงไม่มีความเข้าใจใน

               กระบวนการ ประกอบกับกระบวนการเข้ารับจำนำที่ยุ่งยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับภาระขนส่งข้าวไปยังคลังข้าว

               ด้วยตนเอง และราคารับจำนำที่ไม่แตกต่างจากราคาขายแก่พ่อค้าคนกลางเท่าใดนัก นอกจากนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่

               ยังมีความพึงพอใจที่จะขายข้าวตั้งแต่ต้นฤดูเก็บเกี่ยวมากกว่า แม้จะมีการปรับปรุงมาตรการโครงการ ตั้งแต่ปีการ

               ผลิต 2525/26 ถึง ปีการผลิต 2527/28 แต่โครงการก็ยังไม่ได้รับความนิยม โครงการจึงถูกยกเลิกครั้งหนึ่งเมื่อ


               ปลายปี พ.ศ.2528 (ชัยพัฒน์ สหัสกุล, 2550)


                       ต่อมาได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในปีการผลิต 2529/30 โดยมีการ

               เปลี่ยนแปลงให้โครงการรับจำนำข้าวจากเดิมเป็นโครงการเสริมให้เป็นโครงการหลัก และทำให้กระบวนการต่างๆ

               มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ได้แก่ การให้เกษตรกรสามารถเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของตนเอง ซึ่งเป็นวิธีที่

               ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน โครงการจึงได้รับความนิยม และมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนมาก


                       ตั้งแต่โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2524/25 ถึงโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2544

               เป็นช่วงที่รัฐบาลมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อยกระดับราคาข้าวในประเทศ จึงมีการตั้งราคารับจำนำที่ต่ำกว่าราคาตลาด


               คือ ร้อยละ 80-95 จากราคาฐาน และตั้งเป้าหมายการรับจำนำเพียง 1-2.8 ล้านตันเท่านั้น (สมาคมผู้ส่งออกข้าว
               ไทย, 2555)
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33