Page 29 -
P. 29
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
25
3.2 โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2544/45
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกในระยะที่ผ่านมาจนถึงก่อนปี พ.ศ.2544 นั้นเป็นการรับจำนำข้าวเปลือกใน
ราคาต่ำกว่าราคาตลาด และมีการกำหนดปริมาณการรับจำนำรวมตามความเหมาะสมของสภาพตลาดแต่ในปี พ.ศ.
2544 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับนโยบายรับจำนำข้าวอีกครั้งหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2544 หลังจากที่รัฐบาลพรรคไทยรักไทย ภายใต้การนำของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เข้ามา
บริหารประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ ได้มีการปรับปรุงโครงการรับจำนำข้าวเปลือกใหม่ โดยเริ่มต้นการรับจำนำ
ข้าวเปลือกนาปรังเป็นครั้งแรก มีการกำหนดเป้าหมายรับจำนำกว่า 2.5 ล้านตัน พร้อมทั้งขยายวงเงินรับจำนำ
เพิ่มขึ้นเป็นรายละไม่เกิน 350,000 บาท เป็นการรับจำนำใบประทวนสินค้า โดยมี อ.ต.ก. และ อคส. เป็นผู้ออกใบ
ประทวน และกำหนดเงื่อนไขให้สามารถนำข้าวเปลือกนาปรังที่รับฝากไว้ไปสีแปรสภาพเป็นข้าวสารและเก็บไว้ใน
คลังสินค้ากลางของ อ.ต.ก. และ อคส. ได้ นอกจากนี้ยังมีการตกลงกับโรงสีไม่ให้คิดค่าเช่าฝากเก็บข้าวเปลือก
ในช่วง 3 เดือนที่รับฝากข้าวเปลือกจากเกษตรกร ส่งผลให้ช่วยลดภาระค่าเช่าคลังเก็บสินค้าได้
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2544 นับได้ว่าเป็นต้นแบบของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
ต่อเนื่องมาจนถึงปีการผลิต 2552/53 ที่มีการเปลี่ยนนโยบายเป็นโครงการประกันรายได้ขั้นต่ำในรัฐบาลพรรค
ประชาธิปัตย์ ซึ่งจะกล่าวถึงในลำดับถัดไป นอกจากนี้รัฐบาลยังได้เพิ่มราคาเป้าหมายของการรับจำนำให้สูงกว่า
ระดับราคาตลาด ควบคู่กับการเพิ่มปริมาณเป้าหมายของการรับจำนำ และกำหนดมาตรการให้โรงสีเอกชนเข้ามา
เป็นกลไกสำคัญในกระบวนการรับจำนำข้าวเปลือกครั้งนี้ ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมจากการใช้กลไกของ ธ.ก.ส. และ
สถาบันสหกรณ์ที่มีการรับจำนำไว้กับยุ้งฉาง โดยให้เกษตรกรนำข้าวเปลือกมาจำนำกับโรงสี และให้ อ.ต.ก. และ
อคส. เป็นผู้ออกใบประทวนสิค้าให้กับเกษตรกร เมื่อเกษตรกรได้รับใบประทวนแล้วสามารถนำใบประทวนมาขึ้น
เงินกับ ธ.ก.ส. ตามราคาที่ประกาศรับจำนำไว้ (นิพนธ์ พัวพงศกร, 2553b)
ประเด็นสำคัญในการเปลี่ยนแปลงมาตรการโครงการในปีการผลิต 2544/45 คือ การที่โครงการรับจำนำ
ข้าวเปลือกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายประชานิยม ดังนี้ (นิพนธ์ พัวพงศกร, 2553b)