Page 24 -
P. 24
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
20
การส่งผ่านจากราคาวัตถุดิบไปยังราคาผู้ผลิตและราคาผู้บริโภคที่อาจมีความไม่สมมาตรในตลาดยางพาราและ
น้ำตาลโดยใช้วิธี Threshold Cointegration ผลการศึกษาพบว่าไม่มีความสัมพันธ์ในระยะยาวระหว่างราคา
วัตถุดิบ ราคาผู้ผลิต และราคาผู้บริโภคในตลาดน้ำตาล เนื่องจากราคาน้ำตาลถูกควบคุมจากภาครัฐ อย่างไรก็ตาม
ผลการศึกษาพบว่ามีการส่งผ่านราคาที่ไม่สมมาตรในตลาดยางพาราจากราคาขายปลีกกลับไปราคาขายส่งและ
ส่งกลับไปยังราคาที่สวนยาง เมื่อราคาขายปลีกยางเพิ่มขึ้น จะทำให้ราคาขายส่งยางพาราเพิ่มขึ้น แต่จะส่งผลให้
ราคายางที่สวนยางเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามเมื่อราคาขายปลีกยางลดลง จะทำให้ราคาขาย
ส่งยางพาราลดลง และจะส่งผลให้ราคายางที่สวนยางลดลงเป็นอย่างมาก การส่งผ่านราคาที่ไม่สมมาตรในตลาด
ยางพาราอาจเกิดขึ้นเนื่องจากพ่อค้าคนกลางในตลาดยางมีอำนาจตลาดสูงกว่าชาวสวนยาง
ในขณะที่งานศึกษาของต่างประเทศมีการประยุกต์ใช้วิธีการทางเศรษฐมิติเพื่อวิเคราะห์การส่งผ่านราคาที่
สมมาตรของสินค้าเกษตรและสินค้าขั้นปฐมอื่นจำนวนมาก ที่น่าสนใจได้แก่ von Cramon et.al (1996) และ
von Cramon et.al (1998) ซึ่งศึกษากลไกการส่งผ่านราคาที่ไม่สมมาตรของราคาข้าวสาลีในตลาดโลกและราคา
เนื้อสุกรในประเทศเยอรมนีด้วยวิธี Asymmetric Error Correction Model หรือ AECM ตามลำดับ ผลการศึกษา
ไม่พบความไม่สมมาตรในการส่งผ่านราคาของข้าวสาลี แต่พบว่าการส่งผ่านราคาเนื้อสุกรของเยอรมนีมีลักษณะไม่
สมมาตร ในทำนองเดียวกัน Borenstein et.al (1997) ศึกษากลไกการส่งผ่านราคาที่ไม่สมมาตรระหว่างราคา
น้ำมันเบนซินกับราคาน้ำมันดิบในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยวิธี ECM เช่นกัน ต่อมา Chen et.al (2005)
ตรวจสอบกลไกการส่งผ่านระหว่างราคาน้ำมันเบนซินกับราคาน้ำมันดิบในประเทศสหรัฐอเมริกาอีกครั้งหนึ่งโดยใช้
วิธี TVECM พบว่าการปรับตัวของราคาข่ายปลีกน้ำมันเบนซินในสหรัฐอเมริกามีการปรับตัวที่ไม่สมมาตรต่อการ
ปรับตัวของราคาน้ำมันดิบ
การศึกษาเกี่ยวกับกลไกการส่งผ่านราคาของข้าวไทยที่ผ่านมา ประกอบด้วย ณชภัทร (2558) วิเคราะห์
ความยืดหยุ่นของการส่งผ่านราคา พบว่าการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกข้าว F.O.B. ร้อยละ 1 จะทำให้ราคาขายส่ง
ข้าวขาว 5% เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.14 และการส่งผ่านราคามีความล่าช้า 1 เดือน เนื่องจากเนื่องจากผู้ค้าส่งต้องอาศัย
ราคาส่งออกที่ถูกกำหนดจากตลาดโลกก่อนที่จะส่งผ่านราคาไปยังตลาดขายส่ง จึงต้องมีความล่าช้าในการรับทราบ
ข้อมูลราคา ในขณะที่ อรวรรณ (2556) ประมาณการค่าความยืดหยุ่นของการส่งผ่านราคาข้าวสารส่งออก F.O.B.
ข้าวเหนียวเมล็ดยาว 10% ไปยังราคาข้าวสารขายส่ง 10% เมล็ดยาวตลาดกรุงเทพฯได้เท่ากับ 0.7927 สะท้อนถึง
การส่งผ่านราคาที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพและโครงสร้างตลาดที่ค่อนข้างแข่งขัน แต่หากเปรียบเทียบกับค่าความ