Page 31 -
P. 31

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                                           27


               โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2551/52 รัฐบาลได้ใช้งบประมาณในโครงการกว่า 62,222 ล้านบาท

               นอกจากนี้รัฐยังต้องทำหน้าที่เป็นผู้ค้าข้าว ซึ่งต้องรับภาระในการจัดเก็บข้าวปริมาณมหาศาลต้องเสียค่าใช้จ่ายใน

               การบริหารจัดการจำนวนมาก อีกทั้งโครงการรับจำนำข้าวยังคงมีการช่องว่างอันก่อให้เกิดความเสี่ยงในการทุจริต

               ไม่ว่าจะเป็นการสวมสิทธิ์ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ การเวียนเทียนข้าว สต็อกลม ค่าใช้จ่ายในการสีข้าวและเก็บ

               รักษาข้าวเกินจริง เป็นต้น



                       นอกจากนี้ การรับจำนำข้าวที่สูงกว่าราคาตลาดของรัฐบาล ยังเป็นการแทรกแซงกลไกตลาดข้าว ส่งผลให้

               ข้าวไทยเสียเปรียบในการแข่งขันทางการาค้าในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเวียดนามที่มีการส่งออกข้าว

               ในราคาต่ำกว่าไทยมาก (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2552) หากพิจารณาการส่งออกข้าวในช่วงปี พ.ศ. 2549-

               2551 ซึ่งเป็นช่วงการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวที่ผ่านมา พบว่าความแตกต่างของราคาข้าวไทยเวียดนามเพิ่มขึ้น

               จากเดิมที่มีความแตกต่างเพียง 10-20 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน กลายเป็นราคาข้าวส่งออกเฉลี่ยของเวียดนามต่ำกว่า

               ไทยถึง 100-200 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งส่งผลต่อโอกาสที่ไทยจะสูญเสียตำแหน่งประเทศผู้ส่องออกข้าวอันดับ

               หนึ่งของโลกในขณะนั้น


                       นอกจากเหนือจากความเสียเปรียบในการแข่งขันของข้าวไทย ยังมีแรงกดดันจากการเปิดเสรีตลาดข้าวที่

               จะเริ่มในช่วงต้น ปี 2553 ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันสำคัญให้ไทยจำเป็นต้องปรับมาตรการแทรกแซงตลาดข้าว

               เนื่องจากหากยังคงดำเนินโครงการรับจำนำข้าว จะส่งผลต่อความเสี่ยงในการทุจริต เนื่องจากมีการนำเข้าข้าวจาก


               ประเทศกลุ่มอาเซียนเข้ามาหมุนเวียนในประเทศไทยมากขึ้น


                       นโยบายการประกันราคาข้าวในปีการผลิต 2552/53 นั้น มีแนวคิดหลักคือรัฐบาลต้องการปลดภาระหน้าที่

               การเก็บรักษาและระบายข้าวของรัฐ รวมถึงต้องการให้การช่วยเหลือครอบคลุมถึงกลุ่มเกษตรกรที่ไม่มีปริมาณข้าว

               เหลือขาย ซึ่งส่วนมากเป็นกลุ่มที่ผลิตข้าวเพื่อบริโภคเองภายในครอบครัว หรือเกษตรกรที่ประสบภัยธรรมชาติจน

               เสียผลผลิต โดยกลไกนี้เมื่อฤดูกาลเก็บเกี่ยวรัฐจะให้เงินชดเชยแก่เกษตรกรเป็นส่วนต่าง ก็ต่อเมื่อ “ราคาอ้างอิง”

               (ปัทมาวดี ซูซูกิ, 2553) (รัฐเป็นผู้กำหนดโดยกำหนดใกล้เคียงราคาตลาดมากที่สุด) ต่ำกว่า “ราคาประกัน” โดย

               เกษตรกรจะมีสิทธิในเงินชดเชย ดังนี้



                         เงินชดเชยที่ได้รับ = (ราคาประกัน - ราคาตลาดอ้างอิง) x ปริมาณผลผลิตที่เข้าร่วมโครงการ
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36