Page 36 -
P. 36
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
32
ข้าวสารอีกส่วนหนึ่งจะถูกส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ โดยผ่าน 2 ช่องทางหลัก คือ โรงสีขายให้กับผู้
ส่งออกโดยตรง หรือ ขายผ่าน “หยง” ซึ่งทำหน้าที่เป็นคนกลางในการรวบรวมและประสานงานในการซื้อขายข้าว
ระหว่างโรงสีกับผู้ส่งออก นอกจากนั้นในระยะหลังโรงสีขนาดใหญ่หลายแห่งก็ได้ผันตัวมาทำธุรกิจส่งออกข้าวเอง
อีกด้วย
สำหรับการซื้อขายข้าวในตลาดต่างประเทศ ผู้ส่งออกข้าวของไทยจะขายข้าวให้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ 3
รูปแบบคือ ขายข้าวให้กับผู้ซื้อที่เป็นเอกชนในต่างประเทศ ขายข้าวให้กับรัฐบาลของประเทศผู้ซื้อ หรือผู้ส่งออก
เป็นผู้จัดหาข้าวส่งในนามรัฐบาลไทยเพื่อขายให้กับรัฐบาลของประเทศผู้ซื้อ การขายส่งออกข้าวส่วนใหญ่จะเป็น
การขายผ่านบริษัทนายหน้าค้าข้าวในต่างประเทศ (broker) ซึ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่และมีเครือข่ายไปทั่วโลก
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะพบว่าห่วงโซ่อุปทานข้าวของไทยมีความซับซ้อน ในแต่ละขั้นตอนมีผู้เกี่ยวข้อง
มากมายทั้งในฐานะผู้ซื้อ ผู้ขาย และคนกลาง ในหัวข้อต่อไปจะกล่าวถึงรูปแบบและวิธีการซื้อขายข้าวระหว่างผู้มี
ส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่ ขั้นตอนการซื้อขายข้าวเปลือกระหว่างเกษตรกรจนถึงโรงสี ไปจนถึงขั้นตอน
การซื้อขายข้าวสารระหว่างโรงสีจนถึงผู้ส่งออก
รูปที่ 4.1: ห่วงโซ่อุปทานของข้าวไทย
เก็บไว้บริโภคหรือ ผู้ส่งออก
หยง
เพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์
เกษตรกร โรงสี ผู้ซื้อในต่างประเทศ
สหกรณ์การเกษตร อุตสาหกรรมแปรรูป
ผู้รวบรวมท้องถิ่น ผู้ค้าส่ง
โรงสีท้องถิ่น ผู้บริโภคใน
ประเทศ
ที่มา: ปรับปรุงจาก สมพร (2553)