Page 41 -
P. 41
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
37
4.4 ธุรกิจการซื้อขายข้าวและกลไกการส่งผ่านราคาข้าว
เดิมเคยมีความเชื่อว่าประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ มีส่วนแบ่งในตลาดโลกสูง ประเทศ
ไทยจึงน่าจะกำหนดราคาข้าวในตลาดโลกได้ (คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ, 2555) อย่างไรก็ตามบทเรียน
จากการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2544/45 แสดงให้เห็นว่าแม้รัฐบาลจะสามารถแทรกแซง
ตลาดเพื่อกำหนดราคาเปลือกภายในประเทศ โดยการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดในราคาตันละ 15,000 บาท แต่
ก็ไม่สามารถผลักดันราคาส่งออกข้าวสารของไทยในตลาดโลกสูงขึ้น การเคลื่อนไหวของราคาข้าวไทยในช่วงเวลา
ดังกล่าวยังคงใกล้เคียงกับราคาข้าวของคู่แข่ง พอจะเป็นหลักฐานว่าการเปลี่ยนแปลงราคาข้าวในประเทศไม่
สามารถส่งผ่านไปกระทบต่อราคาข้าวส่งออกของไทยตลาดโลก ในทางกลับกันการเปลี่ยนแปลงราคาข้าวใน
ตลาดโลกมีผลกระทบต่อราคาข้าวส่งออกของประเทศไทย เห็นได้จากการที่ราคาข้าวส่งออกของไทยและราคาข้าว
ของคู่แข่งมีการเคลื่อนไหวไปด้วยกันอย่างใกล้ชิด (ดังแสดงในตารางที่ 1.4 และรูปที่ 1.1) นอกจากนั้นงานศึกษา
เชิงประจักษ์จำนวนมากก็ได้ข้อสรุปไปในทางเดียวกันว่าราคาข้าวสารส่งออกของไทยถูกกำหนดจากราคาข้าวใน
ตลาดโลก เช่น พิเศษพร (2560) และ Mahanaseth and Tauer (2014) ที่พบว่าการเปลี่ยนแปลงราคาข้าว
ส่งออกของประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ เวียดนาม และอินเดียจะมีผลกระทบต่อราคาข้าวส่งออกของไทยอย่างมี
นัยสำคัญ
การเปลี่ยนแปลงราคาข้าวส่งออกในตลาดโลกน่าจะมีผลส่งผ่านต่อมายังราคาข้าวสารและราคาข้าวเปลือก
ในประเทศ เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศมีน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณผลผลิต ทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาตลาดโลก
อย่างมาก โดยมีปริมาณส่งออกข้าวมากถึงเกือบร้อยละ 50 ของปริมาณผลผลิตภายในประเทศ (ไพบูลย์ และ
อัจฉรา, 2551) นอกจากนั้นระบบการซื้อขายข้าวของไทยในปัจจุบันมีการแบ่งหน้าที่กันทำตามความชำนาญ มีการ
กำหนดราคาต่อกันเป็นทอดๆตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยเริ่มตั้งแต่ราคาข้าวสารส่งออกไปจนถึงราคาข้าวเปลือกที่
ชาวนาได้รับ (พิเศษพร, 2562)
ผู้ส่งออกข้าวไทยส่วนใหญ่จะขายข้าวผ่านผู้ค้าและนายหน้าระหว่างประเทศ (international
trader/broker) ผู้ส่งออกข้าวไทยมักจะตกลงทำสัญญาขายข้าวล่วงหน้า ในขณะที่ยังไม่มีข้าวอยู่ในมือหรือที่เรียก
กันว่า short sale (วิโรจน์, 2559) แล้วจึงมาหาซื้อข้าวสารภายในประเทศเพื่อนำไปส่งมอบ โดยผู้ส่งออกจะนำ
ราคาข้าวสารที่ตนได้รับมากำหนดเป็นราคาข้าวสารที่จะรับซื้อ ซึ่งคำนวณจากราคาส่งออกหักด้วยค่าใช้จ่ายและ
9
ส่วนที่เป็นกำไรของตนเอง แล้วบอกกล่าวราคารับซื้อไปยังหยง เพื่อให้หยงไปติดต่อหาซื้อข้าวมาจากโรงสี โดยหยง
จะได้รับผลค่าตอบแทนเป็นค่านายหน้าและค่าบริการกรณีสำรองจ่ายเงินค่าสินค้าล่วงหน้าให้กับโรงสี และอาจ
รวมถึงกำไรจากส่วนต่างราคาถ้าหากหยงมีทำหน้าเป็นผู้ค้าเอง เมื่อโรงสีทราบราคาข้าวสารที่ตนจะได้รับจากหยง
9 ผู้ส่งออกข้าวจะได้กำไรจากการคิดส่วนต่างราคาซื้อและราคาขาย (margin) ประมาณร้อยละ 1 แต่ผู้ส่งออกจะได้รับกำไรมากพอเพราะการซื้อขายข้าว
แต่ละสัญญามีมูลค่าสูง (พิเศษพร, 2562)