Page 46 -
P. 46
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
42
3. ผู้ส่งออกมีอำนาจเหนือตลาดในการกดราคารับซื้อข้าวสารจากโรงสีหรือไม่
ในอดีตมักมีข้อกล่าวหาว่าโรงสีกดราคารับซื้อข้าวจากชาวนา แต่ปัจจุบันโรงสีข้าวอ้างว่าที่ต้องรับซื้อ
ข้าวเปลือกในราคาต่ำเพราะผู้ส่งออกรับซื้อข้าวสารจากโรงสีข้าวในราคาต่ำ (โพสต์ทูเดย์, 2557) จึงอาจกล่าวได้ว่า
โรงสีข้าวมองว่าผู้ส่งออกมีอำนาจกำหนดราคาข้าวสาร เมื่อใดที่ผู้ส่งออกตั้งราคารับซื้อต่ำ ราคาข้าวสารและราคา
ข้าวเปลือกในประเทศก็จะต่ำลงไปด้วย แต่ในช่วงที่ผู้ส่งออกมีความต้องการข้าวสารเป็นจำนวนมาก จนต้องกำหนด
ราคารับซื้อข้าวสารสูงขึ้น ราคาข้าวสารและราคาข้าวเปลือกก็จะเพิ่มสูงขึ้น แต่ก็มีฝ่ายที่มีความเห็นตรงกันข้ามว่า
ตลาดซื้อขายข้าวมีการแข่งขัน ไม่มีผู้ใดสามารถกำหนดราคาข้าวสารในตลาดได้ (ประชาชาติธุรกิจ, 2559)
โดยเฉพาะผู้ส่งออกข้าวที่ชี้แจงว่าตนมีค่าใช้จ่ายสูง ไม่ใช่ธุรกิจที่มีกำไรมาก และยังต้องรับความเสี่ยงทางด้านการค้า
สูง เช่น ความผันผวนของราคาข้าวและอัตราแลกเปลี่ยน การผิดสัญญาซื้อขาย เป็นต้น
12
การวิเคราะห์ว่าผู้ส่งออกมีอำนาจกำหนดราคาข้าวในประเทศหรือไม่จะต้องพิจารณาจากอุปสงค์ อุปทาน
และโครงสร้างตลาด กรมการค้าภายรายงานว่าในปัจจุบันมีโรงสีจำนวน 1,444 ราย และเป็นที่ทราบกันว่าโรงสีมี
กำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก ในขณะที่ผู้ส่งออกข้าวที่เป็นสมาชิกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยมีจำนวนอยู่เพียง 201
ราย (มีผู้ส่งออกบางรายไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยแต่ก็มีจำนวนไม่มาก) จึงเห็นได้ว่าจำนวนผู้ขาย
13
ในตลาด (โรงสี) มีมากกว่าผู้ซื้อ (ผู้ส่งออก) อยู่มาก อีกทั้งเป็นที่ทราบกันในวงการค้าข้าวว่ามีผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่
14
5 ราย (หรือ 5 เสือแห่งวงการค้าข้าว) ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดส่งออกข้าวจำนวนมากมาอย่างยาวนาน ได้แก่
บริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด , บริษัท เอเชียโกลเด้นไรซ์ จำกัด , บริษัท พงษ์ลาภ จำกัด , บริษัท ข้าวไชยพร
จำกัด , บริษัท ซีพี อินเตอร์เทรด จำกัด ดังนั้นเมื่อจำนวนผู้ซื้อมีน้อยในขณะที่จำนวนผู้ขายมีอยู่มาก อีกทั้ง
โครงสร้างตลาดด้านผู้ซื้อมีความกระจุกตัวสูง จึงอาจทำให้ผู้ส่งออกข้าวบางรายมีความสามารถในการกำหนดราคา
ชี้นำตลาดได้ ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันผู้ส่งออกมักกำหนดระยะเวลาในการชำระเงินค่อนข้างนาน ประมาณ 1 – 2
เดือน และมีบางรายสามารถขยายไปได้ถึง 3 เดือน ทั้งๆที่โรงสีจำนวนมากประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง จึง
พอจะสะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจการซื้อขายข้าวระหว่างผู้ส่งออกกับโรงสีในปัจจุบันเป็นตลาดของผู้ซื้อ และอาจทำให้
การปรับตัวของราคาข้าวสารภายในประเทศไม่ได้สะท้อนการปรับตัวของราคาส่งออกข้าวอย่างแท้จริง
นอกจากนั้นวิธีการซื้อขายข้าวของผู้ส่งออกอาจมีส่วนทำให้ราคาข้าวสารภายในประเทศปรับตัวขึ้นลง
มากกว่าที่ควรจะเป็น (overshooting) กล่าวคือ ผู้ส่งออกข้าวใช้วิธีตกลงขายข้าวล่วงหน้าให้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ
(short sale) แล้วค่อยมาหาซื้อข้าวสารภายในประเทศเพื่อไปส่งมอบ อาจเป็นไปได้ว่าในบางช่วงผู้ส่งออก
12 https://www.voicetv.co.th/read/510508
13 http://www.thairiceexporters.or.th/member_1.htm
14 https://www.voicetv.co.th/read/47858