Page 50 -
P. 50

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                                           46


               คือปฎิเสธสมมติฐานว่างและยอมรับสมมติฐานแย้ง  H  ก็จะสรุปว่ากลไกการส่งผ่านราคาในตลาดข้าวเปลือกไม่
                                                             1
               สมมาตรระหว่างราคาปรับขึ้นและราคาปรับลง
                       ในทำนองเดียวกัน สามารถกำหนดสมมติฐานสำหรับการทดสอบค่าพารามิเตอร์ในสมการ  (5.2) เพื่อ

               ทดสอบว่ากลไกการส่งผ่านราคาจากราคาข้าวส่งออกไปสู่ราคาข้าวสารมีความสมมาตรหรือไม่ ดังนี้

                                0 
                                                             1 
                              H :    M    FOB,j   +  =  M    FOB,j     H :    M    FOB,j   +    M    FOB,j           (5.5)
                                                                               −
                                                  −
                                    j=1       j=1               j=1        j=1
                                                             1 
                                0 
                       และ    H :    M    FOB,j   +  =  M    FOB,j     H :    M    FOB,j   +    M    FOB,j           (5.6)
                                                 −
                                                                              −
                                    j=1       j=1               j=1       j=1
                       ถ้าหากผลการทดสอบสมมติฐาน (5.5) และ (5.6) คือยอมรับสมมติฐานว่าง  H  ก็จะสรุปว่ากลไกการ
                                                                                         0
               ส่งผ่านราคาในตลาดข้าวสารมีความสมมาตร ในทางตรงกันข้าม ถ้าผลการทดสอบคือปฏิเสธสมมติฐานว่าง ก็จะ
               สรุปว่ากลไกการส่งผ่านราคาในตลาดข้าวสารสำหรับกรณีราคาข้าวส่งออกปรับขึ้นกับราคาข้าวส่งออกลดลงมีความ
               ไม่สมมาตร จากผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีการสถิติดังกล่าวสามารถนำไปสู่ข้อสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไป



               5.2 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา

                       การศึกษานี้มุ่งศึกษากลไกการส่งผ่านจากราคาข้าวส่งออกไปสู่ราคาขายส่งข้าวขาวและข้าวเปลือก

               ภายในประเทศ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลารายสัปดาห์จากกรมการค้าภายใน และกรมการค้า
               ต่างประเทศ ครอบคลุมเฉพาะช่วงเวลาหลังสิ้นสุดนโยบายรับจำนำข้าวเปลือก คือ ตั้งแต่สัปดาห์แรกเดือนมกราคม

               พ.ศ. 2558 จนถึง สัปดาห์สุดท้ายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 รวมทั้งสิ้น 193 สัปดาห์ ดังสรุปในตารางที่ 5.1 ดังนี้


               ตารางที่ 5.1 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา



                 ตัวแปร           ความหมาย                            แหล่งที่มา

                 p paddy          ราคาข้าวเปลือกภายในประเทศ           กรมการค้าภายใน
                  t
                 p                ราคาข้าวสารภายในประเทศ              กรมการค้าภายใน
                  rice
                  t
                 p FOB            ราคาข้าวส่งออก                      กรมการค้าต่างประเทศ
                  t



                       นอกจากนั้นยังแบ่งราคาข้าวออกตามชนิดข้าว ได้แก่ ข้าวขาว 5% และข้าวขาว 25% ข้าวหอมมะลิ ข้าว

               หอม ข้าวเหนียว และข้าวนึ่ง เพื่อศึกษากลไกการส่งผ่านราคาในตลาดข้าวแต่ละชนิดดังที่กล่าวมา ตารางที่ 5.2
               สรุปค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สำหรับราคาข้าวชนิดต่างๆที่ใช้ในการศึกษา
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55