Page 42 -
P. 42
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
38
แล้ว ก็จะคำนวณราคารับซื้อข้าวเปลือกที่หน้าโรงสี เมื่อหักส่วนที่เป็นกำไรของโรงสีและค่าใช้จ่ายในการสีและ
ปรับปรุงคุณภาพข้าวเปลือกออกจากราคาข้าวสาร สุดท้ายก็จะเหลือเป็นราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรจะได้รับใน
ที่สุด
การเปลี่ยนแปลงราคาข้าวส่งออกสะท้อนความต้องการในตลาดโลก และจะส่งผลถึงความต้องการและ
ราคาข้าวสารและข้าวเปลือกภายในประเทศ เมื่อผู้ส่งออกตกลงทำสัญญาขายข้าวล่วงหน้าได้ในราคาสูงขึ้น ก็จะ
กำหนดราคารับซื้อข้าวสารในประเทศให้สูงขึ้น เพราะต้องแข่งขันกันซื้อข้าวเพื่อนำไปส่งมอบ และเมื่อโรงสีสามารถ
ขายข้าวสารได้ในราคาสูงขึ้น ก็จะสามารถรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรได้ในราคาสูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ในทาง
ตรงกันข้าม ถ้าราคาข้าวในตลาดโลกลดลง ผู้ส่งออกก็จะต้องกำหนดราคารับซื้อข้าวสารในประเทศให้ต่ำลงเพื่อ
รักษากำไรของตนไว้ ในขณะเดียวกัน เมื่อโรงสีขายข้าวสารได้ในราคาถูกลง โรงสีก็จะกำหนดราคารับซื้อข้าวเปลือก
จากชาวให้ต่ำลงเช่นเดียวกัน
ดังนั้น กลไกการทำงานของตลาดซื้อขายข้าวดังกล่าวน่าจะทำให้มีการส่งผ่านจากราคาข้าวส่งออกไปยัง
ราคาข้าวสารและราคาข้าวเปลือกภายในประเทศโดยมีการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน และถ้าตลาดซื้อขายข้าวมี
การแข่งขันอย่างสมบูณ์ (perfectly competition) ซึ่งราคาสินค้าจะสะท้อนต้นทุนการผลิตอย่างแท้จริง การ
ส่งผ่านของราคาข้าวส่งออกไปยังราคาข้าวเปลือกจะต้องเป็นไปอย่างสมบูณ์ด้วย คือ ราคาซื้อและราคาขายจะต้อง
มีการเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนเดียวกันและทันทีทันใด แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากกลไกตลาดไม่สามารถทำงานได้อย่าง
สมบูรณ์หรือมีความล้มเหลวของตลาด ก็อาจทำให้กลไกการส่งผ่านราคาข้าวไม่สมบูรณ์ด้วย จึงอาจพบว่าราคา
ข้าวสารและข้าวเปลือกอาจมีการปรับตัวสูงขึ้นหรือลดลงมากเกินไปหรือน้อยเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกันราคาข้าว
ส่งออก หรือกลไกการส่งผ่านจากราคาข้าวส่งออกอาจใช้เวลานานกว่าจะส่งผลต่อราคาข้าวสารและข้าวเปลือก
ภายในประเทศ ปัญหาการส่งผ่านราคาที่ไม่สมบูรณ์อาจเกิดจากปัจจัยบางอย่างที่เอื้อให้เกิดอำนาจผูกขาด
(market power) อุปสรรคหรือต้นทุนในการปรับตัว (market frictions and adjustment costs) หรือปัญหา
ความไม่สมบูรณ์ข่าวสาร (imperfect information) ในบางขั้นตอนของธุรกิจซื้อขายข้าว โดยอาจแยกพิจารณา
ประเด็นดังต่อไปนี้
1. โรงสีมีอำนาจตลาดสามารถกดราคารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรหรือไม่
ในขั้นตอนการซื้อขายข้าวเปลือกระหว่างเกษตรกรกับโรงสีข้าว มีความเชื่อว่าเกษตรกรมีอำนาจต่อรอง
น้อยกว่าโรงสีข้าว หรือเกษตรกรมักจะมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้อยกว่าโรงสี ทำให้ไม่ทราบราคา
ข้าวที่แท้จริงในตลาด รวมถึงไม่อาจคาดเดาทิศทางการปรับตัวของราคาได้ดีเท่าโรงสี จึงอาจมีโรงสีบางรายเอา
เปรียบชาวนาโดยการกดราคารับซื้อหรือหักราคาข้าว (กรุงเทพธุรกิจ, 2561) ทำให้ราคาข้าวเปลือกไม่ปรับสูงขึ้น
ตามราคาข้าวสารที่ปรับตัวสูงขึ้น หรืออาจจะปรับลดลงมากกว่าในช่วงขาลง