Page 44 -
P. 44

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                                           40


               เป็นไปได้ว่าโรงสีข้าวบางแห่งอาจหาประโยชน์จากการหักค่าใช้จ่ายดังกล่าวมากเกินควร หรือเกษตรกรอาจเลือกวิธี

               ตกลงขายข้าวล่วงหน้าให้กับพ่อค้าหรือโรงสีตั้งแต่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว หรือที่เรียกว่าตกข้าวเขียว (อัมมารและวิโรจน์,
               2533) มีชาวนาจำนวนไม่น้อยเป็นหนี้พ่อค้าหรือเจ้าของโรงสี พ่อค้าหรือโรงสีที่เป็นเจ้าหนี้อาจถือโอกาสกดราคารับ

               ซื้อข้าวจากชาวนาก็เป็นได้

                       นอกจากนั้น โรงสีมีทางเลือกมากกว่าเกษตรกร เนื่องจากโรงสีมีเงินทุนมากกว่าเกษตรกร และมีสถานที่
               เก็บรักษาข้าว โรงสีจึงสามารถจัดการสต๊อกข้าวเปลือกเพื่อดึงราคารับซื้อได้ ในขณะที่เกษตรกรส่วนใหญ่โดยเฉพาะ

               ในภาคกลางไม่มีสถานที่เก็บข้าว จำเป็นต้องขายผลผลิตแทบจะทันทีหลังเก็บเกี่ยว ไม่สามารถรอจังหวะการขาย

               เพื่อทำราคาได้ ในช่วงที่ผลผลิตออกสูงตลาดมากหรือในช่วงราคาข้าวเปลือกขาลง โรงสีอาจหยุดรับซื้อข้าว โดยรอ
               ไปซื้อในวันต่อไปหรือเดือนต่อไป โดยคาดว่าราคาข้าวเปลือกจะต่ำลงอีก หรือโรงสีอาจรับซื้อข้าวเปลือกในราคา

               ต่ำลง (วิโรจน์, 2559) อาจทำให้ราคาข้าวเปลือกปรับลดลงอย่างรุนแรงกว่าที่ควรจะเป็น ในทางตรงกันข้าม ในช่วง

               ที่มีความต้องการข้าวเปลือกมาก โรงสีขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนมาก สามารถเก็บสำรองข้าวเปลือกไว้ได้จำนวนมาก ก็
               จะสามารถนำข้าวเปลือกที่เก็บไว้มาทำการสีเป็นข้าวสารเพื่อจำหน่ายไปก่อนได้โดยไม่จำเป็นต้องรีบซื้อข้าวเปลือก

               จากเกษตรกรเพิ่มเติม ทำให้ราคาข้าวเปลือกในช่วงขาขึ้นไม่สูงขึ้นมากเท่าที่ควรจะเป็น

                       ปัญหาที่สำคัญในปัจจุบันของธุรกิจโรงสีข้าวและอาจส่งผลกระทบต่อการส่งผ่านราคาข้าว คือ ธุรกิจโรงสี
               ข้าวกำลังอยู่ในภาวะขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ขาดเงินทุนหมุนเวียน โดยเฉพาะโรงสีขนาดกลางและขนาดเล็ก

               (วิจัยกรุงศรี, 2562) เนื่องจากโรงสีขยายการลงทุนมากในช่วงโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการเพาะปลูก

               2544/45 ทำให้ในปัจจุบันมีกำลังการผลิตส่วนเกิน และมีหนี้สินเนื่องจากการลงทุนดังกล่าว ธนาคารมองว่าโรงสี
               ข้าวเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง พยายามจำกัดวงเงินสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจโรงสี โดยไม่ปล่อยกู้เพิ่มเติม หรือลดวงเงิน

               สินเชื่อลงจากเดิมร้อยละ 60-80% เมื่อโรงสีประสบปัญหาสภาพคล่อง ก็จะส่งผลทำให้โรงสีขาดแคลนเงินทุนใน

               การรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา โรงสีขนาดเล็กจำนวนมากประสบปัญหาจนกระทั่งต้องเลิกกิจการไป (ประชาชาติ
               ธุรกิจ, 2561) ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโรงสีข้าวดังกล่าวย่อมกระทบอุปสงค์ต่อข้าวเปลือกและการปรับตัวของราคา

               ข้าวเปลือก ในช่วงที่ข้าวสารมีราคาสูงขึ้น โรงสีอาจไม่สามารถรับซื้อข้าวเพิ่มขึ้นได้มากนักเนื่องจากขาดแคลน

               เงินทุน ทำให้ราคาข้าวเปลือกปรับขึ้นได้ไม่มาก ในทางตรงกันในช่วงผลผลิตออกสูงตลาดมาก หรือราคาข้าวเปลือก
               อยู่ในช่วงขาลง โรงสีอาจไม่ต้องการจัดสรรเงินทุนหมุนเวียนที่มีอยู่จำกัดมาซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรเพื่อกักเก็บ

               ไว้ ทำให้ราคาข้าวเปลือกปรับลดลงมากกว่าที่ควรจะเป็น จนกระทั่งในปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์จำเป็นต้องมี

               มาตรการเพื่อช่วยเหลือเพื่อบรรเทาปัญหาสภาพคล่องของโรงสีข้าวโดยร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ โดยขอให้
               ธนาคารพาณิชย์พิจารณาผ่อนคลายข้อจำกัดสินเชื่อให้แก่ธุรกิจโรงสีข้าวเพื่อใช้ในการเก็บสต๊อกข้าว และกระทรวง

               พาณิชย์จะช่วยเหลือผู้ประกอบการโรงสีข้าวโดยจ่ายเงินชดเชยอัตราดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 3 เพื่อจูงใจให้โรงสี

               รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรมากขึ้น เป็นการดูดซับปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกในช่วงออกสู่ตลาดมาก
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49