Page 43 -
P. 43
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
39
ทุกวันนี้มีข้อโต้แย้งความเชื่อดั้งเดิมที่ว่าโรงสีข้าวมีอำนาจเหนือตลาดและกดราคารับซื้อข้าวจากเกษตรกร
เช่น วิโรจน์ (2559) และ พิเศษพร (2562) เนื่องจากในปัจจุบันโรงสีข้าวมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่เป็นจำนวนมาก
มีจำนวนโรงสี 1,444 ราย มีกำลังการผลิตรวมกันมากกว่า 300,000 ตันต่อวัน เมื่อคิดรวมทั้งปีเท่ากับว่าโรงสีมี
10
11
กำลังการผลิตมากกว่าปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 3 - 4 เท่า (ศูนย์ข่าวกระทรวงพาณิชย์, 2559) ทำให้
ผู้ประกอบการโรงสีจำเป็นต้องแข่งขันกันรับซื้อข้าวเปลือก เกษตรกรมีทางเลือกและช่องทางในการขายข้าวเปลือก
มากขึ้น (ฐานเศรษฐกิจ, 2562) โรงสีจึงไม่น่าจะมีอำนาจเหนือตลาดในการกดราคารับซื้อข้าวเหมือนแต่ก่อน โดย
อาจเห็นได้จากในช่วงไม่กี่ปีมานี้มีผู้ประกอบการโรงสีจำนวนมากต้องเลิกกิจการไป แต่ถ้าหากพิจารณาจากการ
กระจายตัวของโรงสีข้าว พบว่าโรงสีข้าวจำนวนมาก (ประมาณร้อยละ 70 ของจำนวนโรงสี) โดยเฉพาะโรงสีข้าว
ขนาดกลางและขนาดใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตภาคกลางและภาคกลางตอนบน ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และภาคใต้มีจำนวนโรงสีข้าวน้อยมากเมื่อเทียบกับผลผลิตโดยเฉพาะในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว อาจเกิดความไม่สมดุล
ระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ในบางพื้นที่มีโรงสีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนเกษตรกรและปริมาณผลผลิต
ข้าวเปลือก ก็อาจเป็นไปได้ที่โรงสีเฉพาะในบางพื้นที่จะยังมีอำนาจเหนือตลาดในการกำหนดราคารับซื้อข้าวเปลือก
จากเกษตรกรอยู่
กระทรวงพาณิชย์มีกฎเกณฑ์กำหนดให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องระบุราคารับซื้อข้าวเปลือกตามมาตรฐาน
ความชื้นที่รับซื้อ อัตราการหักลดความชื้นและน้ำหนักสิ่งเจือปนให้เห็นได้ชัดเจน ณ บริเวณหน้าสถานที่รับซื้อ
รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์เครื่องมือวัดความชื้นและอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดที่เป็นมาตรฐาน นอกจากนั้นยังมีรายงาน
ราคาข้าวเปลือกประจำวันจากการสืบราคาจากตลาดกลางและโรงสีในพื้นที่ ทั้งหมดนี้เพื่อป้องกันมิให้เกษตรกรถูก
เอาเปรียบ อย่างไรก็ตามการดำเนินการดังกล่าวจะเกิดประสิทธิผลหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน คือ
ความสามารถในการกำกับดูแลและกวดขันของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ความสามารถในการสืบค้นและประกาศข้อมูล
ราคากลางที่เที่ยงตรงและทันต่อเหตุการณ์ และเกษตรกรมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากน้อย
เพียงใด
ถึงแม้ภาครัฐมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาความเสียเปรียบของเกษตรกรในด้านอำนาจการต่อรอง
และด้านข้อมูลข่าวสารเพื่อป้องกันไม่ให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบ แต่วิธีการขายข้าวของเกษตรกรอาจมีส่วนทำให้
เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาต่ำ ในปัจจุบันเกษตรกรนิยมขายผลผลิตเป็นข้าวเปลือกสด เนื่องจากปัญหาขาดแคลน
แรงงานและไม่มีสถานที่เก็บข้าวเปลือก ทำให้โรงสีต้องหักค่าใช้จ่ายในการลดความชื้นและปรับคุณภาพข้าว อาจ
10 http://gis.dit.go.th/region/Report/rp_place.aspx?poid=1&pid=3
11 โรงสีก็มีการขยายการลงทุนและเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับปริมาณข้าวเปลือกที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงที่รัฐบาลดำเนินนโยบายประกันราคาข้าว
และโครงการรับจำนำข้าวที่ทำให้ปริมาณข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นอย่างมาก เมื่อสิ้นสุดยุคนโยบายประกันราคาคาข้าวและโครงการรับจำนำข้าวจึงทำให้โรงสีมี
กำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มหาศาล