Page 37 -
P. 37

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                                           33


               4.2 การซื้อขายข้าวเปลือก

                       ข้าวเปลือกจากเกษตรกรจะถูกส่งต่อไปยังโรงสีซึ่งทำหน้าที่หลักเป็นผู้แปรรูปสีข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร
               อย่างไรก็ตามวิธีการขายข้าวเปลือกของเกษตรกร อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ช่องทางหลัก คือ เกษตรกรขาย

               ข้าวเปลือกให้กับโรงสีโดยตรง และ เกษตรกรขายให้กับพ่อค้าคนกลางหรือผู้รวบรวมซึ่งจะนำไปขายให้กับโรงสี

                       การซื้อข้าวเปลือกของโรงสีอาจมีความแตกต่างกันตามลักษณะและขนาดโรงสี อัมมาร และวิโรจน์ (2533)
               แบ่งโรงสีออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ โรงสีขนาดเล็ก (กำลังการผลิตต่ำกว่า 5 ตันต่อวัน) โรงสีขนาดกลาง (กำลังการ

               ผลิตตั้งแต่ 5-20 ตันต่อวัน) และโรงสีขนาดใหญ่ (กำลังการผลิตมากกว่า 20 ตันต่อวัน)

                       โรงสีขนาดเล็กมักจะตั้งอยู่ในเขตชุมชนหรือหมู่บ้านในชนบท นอกจากจะรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาใน
               ปริมาณไม่มากนักเพื่อนำมาแปรรูปขายแล้ว ยังรับจ้างสีข้าวให้กับชาวนาอีกด้วย โรงสีขนาดกลางมักตั้งอยู่เขต

               อำเภอหรือตัวจังหวัด โดยอาจจะซื้อข้าวจากชาวนาโดยตรงที่หน้าโรงสี หรืออาจจะรับซื้อจากพ่อค้าหรือผู้รวบรวมที่

               ซื้อข้าวเปลือกมาจากชาวนาอีกต่อหนึ่ง ในขณะที่โรงสีขนาดใหญ่ต้องรับซื้อข้าวคราวละมากๆตามกำลังการผลิต มัก
               ซื้อข้าวเปลือกจากพ่อค้าหรือผู้รวบรวมที่นำข้าวมาเสนอขายที่โรงสี หรือไปรับซื้อข้าวเปลือกในตลาดกลาง

                       นอกจากนั้นยังพบว่าในปัจจุบันเกษตรกรจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคกลางเกือบทั้งหมดนิยมขาย

               ผลผลิตเป็นข้าวเปลือกเกี่ยวสด เนื่องจากเกษตรกรในภาคกลางไม่มีสถานที่ตากและเก็บรักษาข้าวเปลือก และ
               ปัญหาการขาดแคลนแรงงานเก็บเกี่ยวข้าว โดยอาจใช้บริการรถเกี่ยวข้าวจากผู้ประกอบการโรงสีข้าว

               ผู้ประกอบการโรงสีข้าวก็จะหักราคาข้าวบางส่วนเป็นค่าบริการรถเกี่ยวข้าว ค่าความชื้น และต้นทุนในการปรับลด

               ความชื้นข้าวเปลือก  โดยจะเห็นว่าในปัจจุบันโรงสีข้าวจะเข้ามามีบทบาททำหน้าที่ต่างๆแทนชาวนามากขึ้น ทำให้
                                2
               เก็บเกี่ยวและต้นทุนในการปรับลดความชื้นข้าวเปลือกต้องตกอยู่กับโรงสี ทำให้โรงสีจำเป็นต้องหักราคารับซื้อ

               ข้าวเปลือกจากเกษตรกรส่วนหนึ่งเพื่อให้ครอบคลุมต้นทุนดังกล่าวด้วย

                       กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ จัดให้มีรายงานราคาข้าวเปลือกประจำวัน  โดยการสืบราคาจาก
                                                                                          3
                                                                                                        4
               ตลาดกลางและโรงสีในพื้นที่ และสมาคมโรงสีข้าวไทยมีรายงานราคาข้าวเปลือกประจำวันของแต่ละจังหวัด  เพื่อ
               เป็นประโยชน์ในการอ้างอิงและกำหนดราคาข้าวเปลือกระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย อย่างไรก็ตามราคาซื้อขายจริง

               อาจจะแตกต่างจากราคาอ้างอิงดังกล่าว ตามแต่การตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งนอกจากจะขึ้นอยู่กับอำนาจ




               2  โรงสีข้าวขนาดกลางมักใช้วิธีการปรับลดความชื้นข้าวเปลือกโดยการตากบนลานซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการสร้างลานตากที่พื้นมีความ
               เรียบและลื่นเพื่อป้องกันเมล็ดข้าวเปลือกแตกหักระหว่างการใช้รถไถเคลื่อนย้ายข้าวเปลือกบนลานตาก ในขณะที่โรงสีขนาดใหญ่หรือโรงสีที่มีทุนมาก
               พอจะมีเครื่องอบลดความชื้นข้าวเปลือกและไซโลเก็บข้าวขนาดใหญ่ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล


               3  https://www.dit.go.th/Content.aspx?m=19

               4  http://www.thairicemillers.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=19
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42