Page 9 -
P. 9
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ไขมันนอกจากเป็นแหล่งพลังงานต่อสัตว์แล้ว ยังเป็นแหล่งของกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย
สัตว์ด้วยคือ กรดลิโนเลอิค (linoleic acid: C ) กรดลิโนเลนิค (linolenic acid: C )
18:3
18:2
และกรดอะราชิโดนิค (arachidonic acid: C ) นอกจากนี้ยังมีสารประกอบอื่น ๆ ซึ่งมี
20:4
ประโยชน์ต่อตัวสัตว์อาทิ กลุ่มฟอสโฟไลปิค (phospholipids) สารให้สีเช่น แซนโทฟิลล์
(xanthophyll) หรือสารต้นตอของไวตามินเอ (provitamin A) เช่น สารเบต้าคาร์โรทีน
(- carotene) เป็นต้น
3. สารประกอบที่มีไนโตรเจน (N-containing compounds) เป็นสารประกอบซึ่งมี
ไนโตรเจนในโครงสร้าง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
3.1 โปรตีน เป็นสารประกอบที่มีไนโตรเจนที่พบมากที่สุดทั้งในพืชและสัตว์ โปรตีน
ประกอบด้วยกรดอะมิโนชนิดต่างๆ เชื่อมต่อกันด้วยพันธะเปปไทด์ (peptide bond)
กรดอะมิโนที่พบเป็นองค์ประกอบของโปรตีนมีมากกว่า 20 ชนิด ซึ่งบางชนิดสัตว์สามารถ
สังเคราะห์ขึ้นเองได้ภายในร่างกายในปริมาณที่เพียงพอจึงไม่จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร
(non-essential amino acids) แต่กรดอะมิโนบางชนิดสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเอง
ได้ หรือสร้างได้แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร
(essential amino acids) โปรตีนที่พบในเนื้อเยื่อต่างๆ จะประกอบด้วยกรดอะมิโนทั้ง
ชนิดและปริมาณที่แตกต่างกัน มีผลให้คุณสมบัติและการนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกายสัตว์
ต่างกัน สัดส่วนของโปรตีนในร่างกายสัตว์จะพบมากในส่วนกล้ามเนื้อ ขณะที่ส่วนกีบเขาจะ
พบในสัดส่วนน้อยที่สุด (ตารางที่ 1-3)
โปรตีนที่พบในพืชส่วนใหญ่มักเป็นเอ็นไซม์ต่าง ๆ โดยพบปริมาณสูงในพืชที่กำลังเจริญเติบโต
และค่อย ๆ ลดลงเมื่อพืชเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์ต้องการโปรตีนจากอาหารเพื่อเป็นแหล่งของ
กรดอะมิโนสำหรับการสังเคราะห์โปรตีนขึ้นใหม่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ การซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
ของร่างกาย การเจริญเติบโตและสำหรับการให้ผลผลิต สัตว์กระเพาะเดี่ยวจำเป็นต้องได้รับ
กรดอะมิโนที่จำเป็นจากอาหารในระดับเพียงพอ แต่สัตว์กระเพาะรวมจะได้รับ “โปรตีนจาก
จุลินทรีย์ (microbial protein)” ในกระเพาะรูเมน อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีแหล่ง
ส่วนประกอบของอาหาร 6