Page 8 -
P. 8

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                     (fatty acid) ตั้งแต่ 1-3 โมเลกุล ปริมาณไขมันในร่างกายสัตว์จะผันแปรขึ้นอยู่กับอายุ โดยมัก

                     มีความสัมพันธ์เป็นปฏิภาคผกผันกับปริมาณน้ำในร่างกาย สัตว์ที่มีอายุมากขึ้นจะมีปริมาณน้ำ

                     ในร่างกายลดลงในขณะที่ปริมาณไขมันมีมากขึ้น (ตารางที่ 1-2) สำหรับเนื้อเยื่อพืชจะพบ

                     ไขมันค่อนข้างต่ำยกเว้นกลุ่มพืชน้ำมัน ตัวอย่างเช่น พืชอาหารสัตว์จะมีไขมันประมาณ 4-5%


                     เท่านั้น นอกจากนี้องค์ประกอบของไขมันที่พบในเนื้อเยื่อพืชและสัตว์จะแตกต่างกัน โดยปกติ

                     ไขมันที่พบในพืชมักมีสัดส่วนของกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acids) สูง

                     กว่ากรดไขมันชนิดอิ่มตัว (saturated fatty acids) ส่วนไขมันจากสัตว์จะมีสัดส่วนของ

                     กรดไขมันแตกต่างกันตามแหล่งที่มาเช่น ไขมันจากสุกรมีองค์ประกอบของกรดไขมันตาม

                     ลักษณะของไขมันในอาหารที่ได้รับ  ส่วนไขมันจากโคมักเป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัวเป็นส่วน


                     ใหญ่  หรือไขมันจากปลาประกอบด้วยกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่หลายพันธะ

                     (polyunsaturated-fatty acids: PUFA)  ด้วยเหตุนี้พลังงานที่ได้จากไขมันแหล่งต่าง ๆ

                     จึงแตกต่างกัน  โดยสัตว์สามารถใช้ประโยชน์จากไขมันที่มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวได้ดีกว่า

                     ไขมันที่มีกรดไขมันชนิดอิ่มตัว อย่างไรก็ตามไขมันเหล่านี้สามารถให้พลังงานแก่สัตว์ได้สูงกว่า

                     พลังงานจากแป้งและน้ำตาลประมาณ 2.25 เท่า จึงมักใช้เป็นแหล่งเสริมพลังงานในอาหาร


                     สัตว์


                     ตารางที่ 1-2:  ส่วนประกอบทางเคมีของสุกรตามระยะการเจริญเติบโต


                       น้ำหนักตัว                         ส่วนประกอบทางเคมี (%)

                          (กก.)             น้ำ            โปรตีน            ไขมัน            เถ้า


                           15              70.4             16.0              9.5             3.7

                           20              69.6             16.4             10.1             3.6
                           40              65.7             16.5             14.1             3.5

                           60              61.8             16.2             18.5             3.3

                           80              58.0             15.6             23.2             3.1

                          100              54.2             14.9             27.9             2.9

                          120              50.4             14.1             32.7             2.7

                     ที่มา: Kirchgessner (1997)





                     ส่วนประกอบของอาหาร                                                              5
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13