Page 5 -
P. 5
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
องค์ประกอบของเนื้อเยื่อจากพืชและสัตว์เป็นน้ำกับส่วนวัตถุแห้ง ซึ่งสัดส่วนจะผันแปรตาม
ชนิดของพืชและสัตว์ ระยะการเจริญเติบโตและสภาพแวดล้อม ในส่วนของวัตถุแห้งจะ
ประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของ
สัตว์
1. สารประกอบอินทรีย์ (organic compounds) ได้แก่ สารที่มีไนโตรเจนทั้งโปรตีน
(protein) และสารที่มีไนโตรเจนแต่ไม่ใช่โปรตีน (NPN), ลิปิด (lipids), คาร์โบไฮเดรท
(carbohydrate) และไวตามิน (vitamins)
2. สารประกอบอนินทรีย์ (inorganic compounds) ได้แก่ แร่ธาตุต่าง ๆ
สารประกอบอินทรีย์
1. คาร์โบไฮเดรท อาหารจะประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรทประมาณ 3 ใน 4 ของวัตถุแห้ง
ทั้งหมด โดยคาร์โบไฮเดรทที่พบในเนื้อเยื่อจากพืชมีปริมาณสูงกว่าในสัตว์ เนื่องจากผนังเซลล์
ของพืชเป็นเซลลูโลส (cellulose) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรทชนิดหนึ่ง แต่เยื่อหุ้มเซลล์ (cell
membrane) ของสัตว์เป็นโปรตีนและไขมัน นอกจากนี้พืชเก็บสะสมพลังงานในรูปคาร์โบไฮ
เดรท เช่น แป้ง (starch) และน้ำตาลต่างๆ ในขณะที่สัตว์เก็บสะสมพลังงานในรูปไขมัน คาร์
โบไฮเดรทที่พบในร่างกายสัตว์จะอยู่ในรูปของน้ำตาลกลูโคสและไกลโคเจน (glycogen) ซึ่งมี
ปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (ตารางที่ 1-1)
ตารางที่ 1-1: คาร์โบไฮเดรทที่พบในร่างกายโคน้ำหนักตัว 450 กก.
คาร์โบไฮเดรท จำนวน (กรัม)
กลูโคสในเลือด 20 – 25
กลูโคสในเนื้อเยื่อ 40 – 50
ไกลโคเจนในตับ 250 – 300
ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ 1,800 – 2,200
ที่มา: Kolb (1971) อ้างโดย Abel et al. (1995)
ส่วนประกอบของอาหาร 2